รูป give me a job

การหางานสมัยนี้จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของเราเองว่าเรามีศักยภาพที่ประเมินแล้วอยู่ตรงไหนของตลาดแรงงาน ทักษะความสามารถของเราเป็นที่ต้องการของตลาดพอดีไหม หรือตอนนี้เริ่มตลาดวายแล้ว ไม่มีใครสนใจคนที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์แบบเรา อันนี้เราก็ต้องรีบปรับตัวเอง เพื่อความอยู่รอดในอาชีพของเรา

 

การหางานเพื่อให้ได้งานอย่างชาญฉลาดนั้นจริง ๆ เราต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิตของเรา ว่าชีวิตเราต้องการให้เป็นไปในแนวทางไหน ถ้าไม่ชัดเจนบางทีก็อาจจะทำให้ชีวิตสำเร็จช้าลง หรือ มัวแต่แวะนู่นนั่นนี่ จนมารู้ตัวอีกทีอายุก็ไปไกลละ จุดหมายเช่นเดียวกันกับอายุก็ไกลอยู่เหมือนเดิม

 

ดังนั้นเทคนิคสร้างเรื่อง

  • เรื่องที่หนึ่งคือ การวางเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยใช้ SMART GOAL คือการตั้งเป้าหมายแบบชาญฉลาด

    หมายถึงอะไร คือการตั้งเป้าหมายในชีวิตโดยใช้หลัก SMART

    S = Specific ต้องตั้งเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง

    เช่น เป้าหมายต้องการเป็น ผู้จัดการฝ่ายผลิต

    M = Measurement ต้องวัดได้

    เช่น เป้าหมายต้องการเป็น ผู้จัดการฝ่ายผลิต ที่เงินเดือนมากกว่า หนึ่งแสนบาท

    A = Attainable ต้องบรรลุได้

    เช่น การจะตั้งเป้าหมายเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต อย่างน้อยตัวเราก็ควรจบเอ็นจิเนียสาขาใดสาขาหนึ่ง ในระดับปริญญาตรี ไม่ใช่ว่าจบสายทางด้านเลขานุการ แล้วตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต บางทีมันไม่สอดคล้องบรรลุให้สำเร็จได้ แต่ถามว่าเป็นไปได้ไหม บางทีก็เป็นไปได้ แต่ต้องใช้เวลาในการสร้างให้ไปถึงเป้าหมายก็จะนานพอสมควร และเราก็ต้องขยันมากกว่าคนอื่นหลายสิบเท่าด้วยเหมือนกัน

    R = Realistic เป้าหมายต้อง เป็นจริงได้

    เช่น การเป็นผู้จัดการสามารถเป็นตอนอายุ 32 ปีได้ ไม่ใช่ว่าตอนนี้อายุ 31 ปี และยังเป็นวิศวกร ที่ยังทำงานแบบโอเปเรชั่นอย่างเดียว ไม่มีประสบการณ์ในการบริหารคน บริหารโรงงานมาก่อน รวมถึงตอนนี้ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 30,000 บาท แบบนี้โอกาสที่จะเป็นจริงได้ก็หริหรี่ ก็ไม่ควรตั้งเพื่อให้ตัวเองต้องมาเสียใจที่ทำไม่ได้ตามแผนที่วางไว้ (Plan to fail)

    T = Timely มีเงื่อนไขของเวลากำหนดอย่างชัดเจน

    เช่น เป้าหมายต้องการเป็น ผู้จัดการฝ่ายผลิต ที่เงินเดือนมากกว่าหนึ่งแสนบาท เมื่ออายุ 32 ปี

  • เรื่องที่สอง คือ การวางกลยุทธ์ ด้วยหลัก GROW เพื่อไปสู่เป้าหมายที่เราวางไว้

    ไม่มีสิ่งใดสำเร็จด้วยเพียงความคิดเท่านั้น สิ่งสำคัญคือแผนที่นำทางให้ไปถึงดังที่เราฝัน GROW เป็นเครื่องมือในการมองภาพรวมของตนเอง แบบตามความเป็นจริง พร้อมวางกลยุทธ์ในการพาเราไป

    G = Goal เป้าหมาย ตอนนี้ชัดแล้ว “ผู้จัดการฝ่ายผลิต ที่เงินเดือนมากกว่าหนึ่งแสนบาท เมื่ออายุ 32 ปี”

    R = Reality ความเป็นจริงของตัวเราวันนี้ เป็นอย่างไร เช่น

    • ตอนนี้อายุ 25 ปี (เราจะเห็นแล้วว่าเราเหลือเวลาอีก 7 ปี ที่เราจะไปถึงเป้าหมาย)

    • เงินเดือน 32,000 บาท (ขาดอีก 68,000 บาท และอาจจะต้องแอบถามว่าถ้ายังทำงานอยู่ที่เดิมเงินเดือนของผู้จัดการที่นี่เท่าไหร่ รวมถึงอาจจะสนใจว่าธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรมอะไรที่เค้าจะจ้างฝ่ายผลิตเงินเดือนมากกว่าหนึ่งแสนบาท และหมายถึงการเริ่มเปรียบเทียบความสามารถทักษะความรู้ การจัดการ การแก้ไขปัญหา การรับแรงกดดัน การบริหารคนและอื่น ๆ อีกที่เป็นคุณสมบัติของคนที่เป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต แล้วมาเทียบกับตัวเรา เราอยู่ตรงไหน และเราสามารถพัฒนาตนเองไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร)

    • เรียนจบ วิศวกร สายเครื่องกล (มีพื้นฐานดี เรียนตรงตามความต้องการของฝ่ายผลิต)

    • ความสามารถ เก่งภาษาอังกฤษ แม่นทฤษฎีในของเครื่องกล เชี่ยวในเรื่องการแก้ไขปัญหา (มาล่ะความสามารถเรา ขาดอะไรก็จะเห็น อ่อ ขาดเรื่องการบริหารจัดการคน ยังไม่มีประสบการณ์รับแรงกดดันหนัก ๆ ขาดการจัดการงานหลาย ๆ ด้าน คราวนี้เราก็จะเริ่มหาเวทีลอง และอยากอาสาทำงานเพื่อให้ได้เสริมประสบการณ์ที่เราต้องการ เราจะขยันโดยที่เราไม่รู้ตัว)

    O = Option ทางเลือก ในการที่เราจะเป็นถึงเป้าหมาย เช่น หาเวทีให้ตัวเองเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ยังขาดอยู่ หรือ อาสาช่วยงานหัวหน้าเพื่อเพิ่มทักษะของตนเอง หรือ คุยกับหัวหน้าหรือฝ่ายบุคลลตรง ๆ ว่าถ้าชีวิตเราต้องการเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง ถึงจะไปถึงตรงจุดนั้น หรือ หาเครือข่ายหรือรุ่นพี่ที่ทำงานเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตอยู่ปัจจุบันเพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ เป็นตัวตัวแทนกรณีที่เค้าเติบโตไปอีกขั้น

    W = what’s next แล้วจะทำอะไรต่อละ เช่น เพิ่มทักษะความรู้ อาสาทำงานให้หัวหน้าเพิ่มมากขึ้น หาคอนเนคชั่นเพื่อฟังประสบการณ์และวิธีการบริหารงานของคนที่เป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตปัจจุบัน

  • เรื่องที่สาม ลงมือทำ ลงมือทำ ภาษาเกาหลีบอกว่า HAGAI

    หากแม้นวาดวิมานในอากาสแล้วแต่ไม่เคยลงมือสร้างวิมานนั้นด้วยตนเอง วิมานก็หามีอยู่จริงไม่ เป็นคำที่ทำให้กระแทกใจหลายครั้งว่า ใช่ แผนดีอย่างไร แต่ไม่เคยลงมือทำก็เท่ากับศูนย์ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ การลงมือทำ ลงมือทำ เมื่อลงมือทำแล้วเราจะเรียนรู้ว่า ทางเลือกไหน หรือ การกระทำอันใดที่เราวางแผนว่าจะทำมันเวิร์คหรือไม่เวิร์ค ถ้าไม่เวิร์คไม่ใช่เปลี่ยนเป้าหมาย เพราะหลายคนเข้าใจผิด แต่ให้เปลี่ยนทางเลือกที่จะลงมือทำ  

    ดังที่ “ไอน์สไตน์ กล่าวว่า มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ แต่กลับหวังผลลัพภ์ที่แตกต่าง”

  •  
     

การแนะนำงาน - คำแนะนำอื่นๆ