รูปการหางาน

ก่อนที่เราจะคุยเรื่อง Headcount Optimization เรามาทำความเข้าใจความหมายพื้นฐานของศัพท์แต่ละตัวก่อนว่ามันคืออะไร

คำแรก คือ Headcount หมายถึง จำนวนพนักงานที่มีความต้องการในหน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ ส่วนคำที่สองคือ Optimization หมายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพ รวมสองคำด้วยคือ Headcount Optimization หมายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพของจำนวนพนักงานที่มีอยู่ให้สูงสุดนั่นเอง

 

คำถามคือ แล้วมันเกี่ยวอะไรกันกับคนที่กำลังหางานอย่างเรา นั่นมันเป็นเรื่องขององค์กร หรือ บริษัท หรือเปล่า คำตอบคือ มันอาจจะไม่เกี่ยวโดยตรง แต่ว่าถ้าเรารู้ว่าตอนนี้ในโลกของการทำธุรกิจนั้นเค้ามีกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่อง Headcount Optimization จะทำให้เราเข้าใจในภาคของธุรกิจ และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของเราในการที่เข้าไปร่วมงานกับองค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ ไว้เป็นพื้นฐาน และเตรียมตัวของเราให้พร้อมทั้งในฐานะผู้ที่กำลังหางาน หรือ กำลังเข้าไปร่วมงานนั่นเอง

 

ปัจจุบันเกือบทุกองค์กร หรือ บริษัทที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือ บริษัทข้ามชาติต่างที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดคือการสร้างคนให้มีศักยภาพในการทำงานให้มีความหลากหลายและสามารถที่จะทำงานตรงไหนก็ได้เมื่อมีความจำเป็นตามที่บริษัทต้องการด้วยเหตุผลของโลกธุรกิจในทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว องค์กรหรือบริษัทต่างก็ต้องปรับตัวให้รวดเร็วไปตามที่โลกเป็น โดยเฉพาะเรื่องของการทำ Headcount Optimization หรือ การเพิ่มประสิทธิภาพหรือศักยภาพของคนที่ทำงานปัจจุบันให้เพิ่มขึ้น

 

เช่น บางหน่วยงานมีคนลาออกอาจจะกระจายงานของคนที่ลาออกไปให้กับคนทำงานที่เหลือ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนปัจจุบันที่มีอยู่ และไม่รับคนเพิ่ม ซึ่งจะส่งผลให้ตำแหน่งงานว่างที่องค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ ควรจะเปิดรับสมัครงานก็ไม่เกิดขึ้น ทำให้โอกาสในการได้เข้าทำงานสำหรับคนหางานก็น้อยลงเป็นต้น หรือบางหน่วยงานก็ใช้กลยุทธ์จ้างให้ Outsource หรือ คนข้างนอกทำ สิ่งที่เกิดตามมาขึ้นไม่มีการจ้างงานเพิ่มในองค์กรหรือหน่วยงานนั้น ก็ส่งผลทำให้เรามีโอกาสได้สมัครงานหรือทำงานได้น้อยลงเช่นกัน

 

ด้วยเหตุนี้ตัวเราเองก็เช่นกันในฐานะที่กำลังจะหางานหรือกำลังจะเปลี่ยนงาน เราต้องมีความเข้าใจในสถานการณ์ของโลกของธุรกิจของโครงสร้างการบริหารในยุคปัจจุบัน รวมถึงเข้าใจในขีดความสามารถของคนในองค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ ที่ต้องการ และต้องปรับตัวเพื่อสร้างกลยุทธ์ในการหางาน หรือ กลยุทธ์ในการรักษาตำแหน่งงานในปัจจุบันให้เติบโตก้าวหน้าตามความเป็นจริงของโลกธุรกิจในปัจจุบัน

 

กลยุทธ์ในการหางาน

  1. การรู้ตลาดแรงงาน
    ตลาดแรงงานเป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะไกลตัวเรา แต่ว่าไม่ใช่เลยกลไกของตลาดแรงงานหรือแนวโน้มของตลาดแรงงานจะทำให้เราเข้าใจภาพใหญ่ของการจ้างงานและทำให้เราเรียนรู้ที่จะอยู่ตรงจุดไหนของการหางานเพื่อที่จะได้มีข้อมูลและได้เปรียบในการสร้างวิธีการในการหางานให้ได้งานตามที่เราต้องการ ยิ่งเรารู้ลึกขนาดว่าตลาดแรงงานเรามีความต้องการเป็นอย่างไร ธุรกิจมีการปรับตัวอย่างไรเราก็จะได้เตรียมพร้อมอย่างเหมาะสม
  2. การรู้จักคอนเน็คชั่น
    การมี Connection หรือ มีเครือข่ายหรือมีคนรู้จักที่หลากหลายและกว้างขวางเป็นสิ่งที่ได้เปรียบในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการหางานหรือการทำธุรกิจ คนส่วนใหญ่จะได้งานหรือรู้แหล่งข่าวการรับสมัครงานส่วนหนึ่งก็มาจากคนรู้จัก แต่ในที่นี้ไม่ได้เกี่ยวถึงขนาดฝากงานให้ เพราะการฝากงานให้กันในสมัยนี้ไม่น่าจะเป็นที่นิยมเพราะคนฝากนั้นต้องรับความเสี่ยงในเรื่องของการรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของผู้สมัคร แต่ Connection ในที่นี่หมายถึงแหล่งหางานที่เราสามารถรู้ได้อย่างง่ายดายถ้าเรามีคนที่เป็นผู้กว้างขวางในทุกวงการเท่านั้น
  3. การมองหาโอกาสจากสถานการณ์ต่างๆ
    การหางานนั้นใช่ว่าจะรอแต่โอกาสที่เค้าหยิบยื่นให้หรือการส่งใบสมัครงานเข้าไปที่บริษัทหรือองค์กรนั้น ๆ เท่านั้น แต่เรายังสามารถสร้างโอกาสจากสถานการณืต่าง ๆ ได้ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครต่าง ๆ หรือ การเข้าร่วมวิ่งแข่งมาราธอน หรือ การเข้าวัดปฏิบัติธรรม หรือ การเข้าร่วมสมาคมชมรมต่าง ๆ ก็เป็นการสร้างโอกาสให้กับตนเองในการได้พบเจอผู้คนใหม่ ๆ ทำให้เราได้มีโอกาสสร้าง Connection เพิ่ม เมื่อมี Connection เพิ่ม สิ่งที่จะตามมาคือโอกาสในเรื่องต่าง ๆ ก็จะเพิ่มตามมาด้วยเช่นกัน
  4. การพรีเซ้นต์ตัวเองและกล้าที่จะก้าวออกจากพื้นที่ตัวเอง
    ในยุคปัจจุบันสังคมโลกออนไลน์ต่างก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ดังนั้นจงสร้างประโยชน์จากสื่อมัลติมีเดียหรือออนไลน์เหล่านี้ โดยการสร้างความเป็นตัวตนของตนเองขึ้นมา หรือ สร้าง Identity ของตัวเองและพรีเซ้นต์ตัวเองขึ้นมาให้ได้ เพราะคนสรรหาพนักงานบางครั้งก็จะเข้ามาค้นประวัติของผู้สมัครจากโลกออนไลน์อย่างเช่น Facebook, Line, Linkedin เป็นต้น
  5. การเตรียมความพร้อม
    สำคัญที่สุดคือการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการทำงานเพื่อเมื่อถึงเวลาที่เราได้มีโอกาสเข้าไปคุยกับผู้ที่สัมภาษณ์เราจะได้แสดงขีดความสามารถของเราอย่างเต็มที่เพื่อให้เค้าเห็นและเชื่อมั่นในฝีมือการทำงานของเราและรับเราเข้าไปทำงาน

ความสามารถของคนทำงานในยุคปัจจุบันที่องค์กรหรือบริษัทต้องการ

  1. Adaptation Skills ทักษะการปรับตัว
  2. Analytical Skills ทักษะการวิเคราะห์
  3. Change Management Skills ทักษะการบริการจัดการการเปลี่ยนแปลง
  4. Third Language Skills ทักษะการใช้ภาษาที่สาม (ซึ่งต้องรวมภาษาที่สองคือ ภาษาอังกฤษไว้แล้ว)
  5. Pro-active Skills ทักษะการทำงานแบบโปรแอททีฟ
  6. Problem Solving Skills ทักษะการแก้ไขปัญหา
  7. Influence Skills ทักษะการพูดโน้มน้าว
  8. Integrity & Transparency มีความโปร่งใสและมีคุณธรรมในการทำงาน
  9. Commitment Skills ทักษะการรักษาสัจจะ
  •  
     

การแนะนำงาน - คำแนะนำอื่นๆ