ถ้าถามว่าหัวหน้างานามีกี่แบบ แบบไหนบ้าง บอกได้เลยคะมีมากมายหลายร้อยแบบ ก็คนธรรมดาเหมือนเรานี่แหละนา ย่อมมีความแตกต่าง หลากหลาย และมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไปคะ
ซึ่งผู้สมัครเองเมื่อได้เข้าสัมภาษณ์ย่อมที่จะอยากรู้ว่าเราจะต้องตอบยังไงดีนะแบบไหน เพื่อให้ตรงใจหัวหน้างาน ที่จะมาสัมภาษณ์ เช่น ถ้าผู้สมัคร หางานบัญชี อยู่ จะเป็นประโยชน์ถ้าได้มีการเตรียมตัวตอบคำถาม เพื่อให้หัวหน้างานบัญชีถูกใจ
อธิบายกันอย่างนี้ดีกว่าสำหรับเจ้าหน้าที่สรรหาเองก็เช่นกันคะ พวกเราเองก็ต้องศึกษาว่าหัวหน้างานแต่ละท่านมีอุปนิสัยอย่างไร คุณก็ควรคุณลักษณะ ความชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้างเช่นกัน โดยพวกเราก็เรียนรู้จากการติดต่อประสานงาน การเข้าร่วมสัมภาษณ์กับหัวหน้างานแต่ละท่านนี่แหละคะ ถึงจะรู้ว่าชอบคนแบบไหน และเลือกผู้สมัครแบบไหนแนวไหนให้ดี ซึ่งก็ใช้เวลาสักระยะเหมือนกันนะคะ กว่าจะรู้ว่าเค้าชอบแบบไหนต้องการอะไรบ้าง ถ้าเราเจอหัวหน้างานคนใหม่มาก็มาเริ่มนับหนึ่งใหม่เหมือนผู้สมัครเลยคะ
ช่วงแรกๆอาจต้องเดาใจเค้าไปก่อนจนกว่าจะได้ร่วมงานกัน มีการพูดคุยแบ่งปัน สังเกตพฤติกรรมขณะสัมภาษณ์อีกครั้งคะ ผู้สมัครอาจคิดว่าก็ใช่สิทำงานด้วยกันก้อรู้ใจกันสิ นี่มาให้เจอกันครั้งแรกแล้วมาเดาใจนี่รู้มั้ยว่ามันยาก เข้าใจคะ นี่ไงเราเลยมาเล่าสู่กันฟังว่าจะทำยังไงกันดีนะ
- เริ่มแรกเมื่อเดินเข้าสู่ห้องสอบสวน เอ้ยไม่ใช่ห้องสัมภาษณ์ ผู้สมัครสามารถสกรีนเบื้องต้นได้ก่อนเลยอาทิเช่น ประเมินอายุ การแต่งกาย บุคลิกภาพ สีหน้า แววตา การทักทายผู้สมัครก่อนที่จะมีการเริ่มสัมภาษณ์ อย่าเพิ่งลนลาน เกร็งกลัวไปก่อนคะ เก็บไว้ข้างในแล้วไว้เชิงก่อน เพื่อเราจะได้ประเมินและวิเคราะห์ได้ว่าหัวหน้างานที่มาสัมภาษณ์มีแนวโน้มเป็นคนแบบไหน อย่างเช่น หัวหน้างานดูหน้าตาอายุไม่มาก แต่งตัวทันสมัย มีวิธีการทักทายแบบคนรุ่นใหม่ หรือเป็นคุณลุง คุณป้าสูงวัย สวมแว่น ใส่สูท ทำหน้าสีหน้าเคร่งขรึม นี่ท่านจะสามารถประเมินเบื้องต้นได้แล้วว่าเราควรจะวางตัวอย่างไร รูปแบบวิธีการทักทายและ การตอบคำถาม ควรจะออกมาในรูปแบบไหน
- อย่างเช่น ตำแหน่งงานที่ท่านสมัครเป็นลักษณะ ครีเอทีฟ ถ้าหัวหน้างานครีเอทีฟที่มาสัมภาษณ์ คงเป็นส่วนน้อยที่ท่านจะเจอแบบใส่สูทผูกไทด์ แล้ว มองลอดแว่น จริงมั้ยคะ บรรยากาศก็จะออกแนวคนรุ่นใหม่หน่อย เน้นการนำเสนอความคิดหรือไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆ ก็ครีเอทีฟนี่นาจะมานั่งอยู่ในกล่อง คิดอยู่ในกรอบคงไม่ใช่น้า เวลาการตอบคำถามท่านสามารถที่จะนำเสนอและใส่ความคิดของตัวเองลงไปได้ เพื่อให้มองภาพให้ออกว่าท่านมีความคิดสร้างสรรค์อย่างไร และนำเสนอได้อย่างเป็นรูปธรรมและทำได้จริงแค่ไหน แต่เตือนไว้นิดหนึ่งว่าอย่าให้เกินพอดี ขนาดว่าไม่รับฟังนะคะ เพราะบางทีการสัมภาษณ์มันไม่ใช่แค่หัวหน้างานถามแล้วคุณตอบ แต่บางครั้งมันก็เป็นเหมือนการแลกเปลี่ยน ความคิด อภิปรายกันเหมือนกันนะคะ ซึ่งอาจจะมีการแชร์ไอเดีย แชร์ความคิดก็ได้เช่นกัน ท่านควรจะมีการนิ่งฟัง เพื่อลองอีกมุมของอีกฝ่ายก็ดีนะคะ และยังจะเป็นการทำให้หัวหน้างานเห็นด้วยว่า ท่านเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่ปิดกั้นพร้อมฟังความคิดเห็นของคนอื่นอีกด้วย เป็นต้น
- หรือหากท่านสัมภาษณ์งานในงานที่มีลักษณะว่าต้องตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เช่น หัวหน้าหน่วยงาน Security แบบนี้ลักษณะผู้สัมภาษณ์จะออกแนวขึงขัง จริงจัง เพราะด้วยงานตามระเบียบแล้วต้องว่ากันให้เปะๆ คุมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเป็นจำนวนมาก ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นระเบียบ และเข้าไปจัดการเมื่อเกิดปัญหาขึ้น การสัมภาษณ์ในแง่ของการอภิปรายและแลกเปลี่ยนอาจมีอยู่บ้างในลักษณะของการประเมินสถานการณ์หรือเหตุการณ์ แต่ในแง่ของระเบียบวินัย ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องตรงนี้ท่านต้องแน่นคะ ลักษณะการถามของหัวหน้างานอาจจะเน้นไปในเชิงการหา cause, action และ effect ซึ่งต้องเป็นไปตามขั้นตอนทุกอย่าง ลักษณะการตอบคำถามของคุณเองก็จะต้องเป็นการตอบคำถามที่ตรงประเด็น มีการ action ที่ถูกต้องตามกฎและระเบียบที่วางไว้ หรือหัวหน้างานชอบ Challenge ผู้สมัครในตอบคำถามภายใต้สถานการณ์ที่มีข้อจำกัดมากๆหรือมีความกำกวมมาก ก็มีเช่นกัน
ดังนั้นถึงได้บอกว่ามันมีกฎที่ตายตัวว่าหัวหน้างานมีกี่แบบ แล้ววิธีการตอบมีกี่แบบจะตอบแบบไหน ตามที่บอกไปแล้วในขั้นต้น ท่านต้องประเมินสภาพแวดล้อมองค์ประกอบภายนอกในเบื้องต้น จนเมื่อมาถึงการพูดคุยรับฟังแนวการถาม วิธีการถามของหัวหน้าแต่ละคน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตัวเองคะ บอกได้เลยว่าถึงคนสัมภาษณ์จะมีหลายคน และอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน มาสัมภาษณ์คนๆเดียวกันในตำแหน่งเดียวกัน แต่ละคนจะมีวิธีการของตัวเองที่แตกต่างกันออกไปคะ แล้วเราอาจอาศัยการโยนหินถามทาง เป็นการช่วยประเมินพฤติกรรม ความคิดของผู้สัมภาษณ์ได้ด้วยคะ
ในเบื้องต้นลักษณะการตอบเราควรเลือกตอบที่เป็นกลาง แต่อ้างอิงบนพื้นฐานและหลักการที่ถูกต้องนะคะ แนะนำเพิ่มเติมอีกนิดว่าในการสัมภาษณ์ เราพยายามให้ข้อมูลที่เป็น FACT หรือข้อเท็จจริงให้มากๆในสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ถาม ถ้าไม่ใช่คำถามเชิงแสดงความคิดเห็นท่านไม่ควรจะใส่ความคิดหรือข้อคิดเห็นของท่านเองลงไป เพราะนั่นไม่ได้ตอบว่าท่านทำมาจริงๆ ท่านแค่คิดนะคะ อย่างเช่นหากผู้สัมภาษณ์ถามว่าท่านมีประสบกาณ์อะไรมาบ้าง แต่ผู้สมัครมักมีคำพูดที่ติดปากว่าผม/ดิฉันคิดว่า.. ไม่ต้องคิดคะ เค้าเอาข้อเท็จจริง เอาไว้ถ้าเค้าถามว่า ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรถ้าหากท่านมีโอกาสได้เสนอแนวทางการปรับปรุงพัฒนา? คำถามลักษณะนี้ใส่ความคิดเห็นได้เลยคะ
อีกอย่างนะคะการใส่ความคิดเห็นและทรรศนะควรอยู่ในจุดที่เหมาะสม ไม่ดูเอียงข้างใดข้างหนึ่งมากจนเหมือนจะไม่รับฟังอะไรเลย หรือเอาสิ่งที่เป็นอคติที่เคยประสบมาจากที่เก่าแล้วเอามายำในการสัมภาษณ์ บางทีด่าหัวหน้างานเก่าหรือที่ทำงานเก่า เช่นนี้เป็นต้น ท่านจะดูไม่ดีมากเลยคะ เอาที่พอเหมาะพอดีดกว่าเนาะ แล้วไม่ว่าท่านจะเจอหัวหน้างานหรือกรรมการสัมภาษณ์แบบไหนท่านย่อมพร้อมที่จะรับมือ และชิงงานนั้นมาเป็นของเราได้อย่างแน่นอนะคะ