รูปการสัมภาษณ์งาน

หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ในการสัมภาษณ์บ้างในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์การเข้าเป็นนักศึกษา หรือ สัมภาษณ์เพื่อการเข้าไปเป็นพนักงานและทำงานในองค์กร หรือ หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานในการคัดเลือกคนเข้าทำงานหรือเข้าไปในมหาวิทยาลัย

 

หากจะกล่าวเจาะลึกถึงเฉพาะแค่ “การสัมภาษณ์เพื่อการหางาน นั้น หลายคนอาจจะพอเห็นภาพว่า การที่เราได้มีโอกาสเข้าไปในรอบสัมภาษณ์นั้นถือว่าเรานั้นสามารถผ่านไปได้อีกระดับหนึ่ง ซึ่งการเข้าไปอยู่กระบวนการสัมภาษณ์สิ่งที่เราไม่สามารถเตรียมตัวได้เลยคือ การเจอผู้สัมภาษณ์ที่จะสัมภาษณ์เรา ว่าจะออกมาเป็นลักษณะไหน เราจะเจอสถานการณ์อะไรบ้าง ผู้สัมภาษณ์จะถามคำถามอะไร และเราก็จะแอบกังวลว่าเราจะเตรียมพร้อมอย่างไร เพื่อให้การสัมภาษณ์ในครั้งนั้น ๆ ของเราเป็นการารสัมภาษณ์ที่ทำให้เราและผู้สัมภาษณ์ได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างสูงสุดนั่นเอง

 

การแก้ไขสถานการณ์การสัมภาษณ์ก็เป็นทักษะอีกประการหนึ่งของผู้ถูกสัมภาษณ์แบบเรา ที่ต้องทำความเข้าใจและต้องสามารถปรับตัวและควบคุมอารมณ์ในระหว่างการสัมภาษณ์ให้ได้ เพราะตำแหน่งงานว่าง บางตำแหน่งต้องการแสดงบทบาทสมมุติ (Role Play) เพื่อสร้างสถานการณ์ดูทักษะ (Skills) หรือ การแสดงพฤติกรรมสะท้อนกลับ (Re-Action) ภายใต้สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เพื่อประเมินและตรวจสอบว่า ผู้สมัคร หรือ Candidate นั้นเหมาะสมกับงานหรือตำแหน่งงานนั้นจริง ๆ

 

ตัวอย่างสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และการแก้ไขในแต่ละสถานการณ์ ที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ระหว่างการสัมภาษณ์มีดังต่อไปนี้

  1. สถานการณ์การสัมภาษณ์แบบปกติ
    กรณีที่เราไปสัมภาษณ์บริษัท หรือ องค์กร หรือ หน่วยงาน ต่าง ๆ ก็จะมีการสัมภาษณ์ในลักษณะปกติ คือ อาจจะมีการสัมภาษณ์สองรอบ หรือ อาจจะน้อยหรือมากกว่านั้นก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานหรือ กระบวนการสัมภาษณ์ที่แตกต่างต่างกัน การสัมภาษณ์ในสถานการณ์แบบปกติ ก็จะไม่มีอะไรกดดันมาก นอกจากความตื่นเต้นของเราเท่านั้น ซึ่งเราจะต้องทำให้ตัวเองหายตื่นเต้นหรือประหม่าให้ได้ เพราะไม่งั้นเราจะพูดไม่รู้เรื่อง กระตุกกระตัก และไม่สามารถเรียบเรียงข้อมูลออกมาให้ผู้สัมภาษณ์เข้าใจได้อย่างง่าย ทำให้เสียโอกาสในการจะได้เป็นพนักงานไปอย่างน่าเสียดาย

    เคล็ดลับ ก่อนวันไปสัมภาษณ์งานนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ศึกษาบริษัทที่จะไปสัมภาษณ์อย่างเพียงพอ ศึกษาเส้นทางการไปบริษัทหรือสถานที่สัมภาษณ์ให้เรียบร้อย ทานอาหารเช้าให้เรียบร้อย และไปก่อนสัก 30 นาที เพื่อดูสภาพแวดล้อมและการดูแลของเจ้าหน้าที่ในบริษัทฯ หรือ องค์กรนั้น ๆ เพราะบางทีไม่ใช่แค่เค้าที่เลือกเรา เราเองถึงแม้จะเป็นผู้สมัครงาน หรือ Candidate ก็สามารถที่จะปิดไฟไม่เลือกเค้าก็ได้ค่ะ
  2. สถานการณ์การสัมภาษณ์แบบสร้างภาวะกดดัน
    ในบางลักษณะงานต้องมีความกดดันตามธรรมชาติของเนื้องาน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือบางตำแหน่งงานโดยเฉพาะตำแหน่งงานที่ไม่ใช่จูเนียร์นั้น การต้องทำงานภายใต้สภาวะกดดันนั้นเป็นทักษะ หรือ Key Skills ตัวหนึ่งเหมือนกัน ทำให้บางครั้งในการสัมภาษณ์งาน ทางเจ้าหน้าที่สรรหา และผู้บริหาร หรือ หัวหน้างาน จะแสดงบทบาทสมมุติในการสัมภาษณ์โดยไม่ได้บอกให้เราทราบล่วงหน้า เพื่อจะดูปฏิกริยาสะท้อนกลับของเรา หรือ จะได้ไหวพริบว่าจะเราจะแก้ไขปัญาหา หรือ สถาณการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร

    ซึ่งลักษณะของการกดดัน บางครั้งอาจจะมีการถามจี้ ๆ ลึกลงไปให้เราพูดถึงปัญหา หรือ แก่นของเนื้องาน หรือ โครงการที่เราได้ทำ ปัญหาที่พบ สิ่งที่เราเรียนรู้ ไม่ว่าเราจะตอบอะไรก็ไม่พอใจในคำตอบ บางทีก็แสดงกิริยาที่ไม่น่าชม เช่น ไม่ยิ้ม น้ำเสียงห้วน มีการพูดเสียงดัง แสดงท่าทางสีหน้าว่าไม่พอใจในคำตอบ และต้องการให้ตอบคำถามใหม่ หรือบางทีก็อาจจะทำเป็นไม่สนใจในคำตอบเราสวนตอบด้วยคำถามเพื่อให้แสดงเห็นว่าไม่ได้ฟัง ก็อาจจะเป็นไปได้ หรือทำให้เป็น Dead Air แบบให้เรารู้สึกถึงความเย็นยะเยือก หรือ ให้เราแนะนำตัวเองภายใต้เวลาที่กำหนด เหล่านี้ก็เป็นสถานการณ์ตัวอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นช่วงระหว่างการสัมภาษณ์

    ข้อสังเกตุ ถ้าเป็นการ สร้างสถานการณ์ หรือ Role Play นั้น ตอนท้ายของการสัมภาษณ์ทางผู้สัมภาษณ์จะมีการเฉลยว่าที่ผ่านมาคือการแสดงบทบาทสมมุติ เพื่อวัตถุประสงค์อะไร และต้องมีการขอโทษผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกครั้งหลังจากเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์

    เคล็ดลับ เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ ให้มีสติ ทำให้ให้ร่ม ๆ ค่อย ๆ ฟังว่าเค้าถามอะไร ต้องการอะไร ถ้าไม่แน่ใจในคำถาม ไม่เคลียร์ ไม่เข้าใจ ก็ให้ถามเค้ากลับทันที ว่าขอให้ถามคำถามใหม่ และให้พูดช้า ๆ เป็นต้น สิ่งที่ต้องระวังห้ามโดดลงไปในหลุมหรือกับดักที่เค้าวางไว้ เราต้องนิ่ง และควบคุมอารมณ์ การเงียบไม่ตอบคำถามถือว่าไม่ควร ให้อดทนและยิ้มเสมอเมื่อตอบคำถาม
  3. สถานการณ์การสัมภาษณ์แบบให้ลงมือทันทีให้ดู
    งานบางงานต้องการพิสูจน์ หรือ proof ความเป็นผู้เชียวชาญในงานหรือทักษะด้านนั้น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นของงานหรือตำแหน่งที่กำลังมองหา และองค์กร ไม่อยากตัดสินใจเลือกผิดคน หรือ เสียเวลาต้องมาสอนใหม่ จึงมีการให้โจทย์และทดลองทำจริงๆ ขึ้นในระหว่างการสัมภาษณ์ ทำให้ให้เราอาจจะรู้สึกประหม่า หรือ อาจจะทำไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ใช่คนที่มีประสบการณ์การทำงานหรือมีทักษะแบบนั้นจริง ๆ ดังนั้นสิ่งที่ต้องระวังคือ ตอบคำถาม หรือ โชว์ผลงานเฉพาะที่เราได้ลงมือทำ มีประสบการณ์ ผ่านการแก้ไขปัญหา มีบทเรียนการเรียนรู้เกิดขึ้นเท่านั้น

    เคล็ดลับ พรีเซ็นต์ในสิ่งที่ทำเท่านั้น และควรจะมีผลงานเดิมหรือในอดีตที่เราเคยทำแล้วสำเร็จ หรือ บางงานอาจจะไม่สำเร็จแต่เรามีวิวัฒนาการของการเรียนรู้และเติบโตก็สามารถเตรียมไปได้ ทักษะที่องค์การหรือหน่วยงานส่วนใหญ่มักจะให้ทดลองทำอยู่เสมอคือ การทำงานด้วยโปรแกรมต่าง ๆ เช่น การใช้สูตร Excel Advance ทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะการเขียนแบบ ทักษะการวิเคราะห์ เป็นต้น
  •