รูปตารางนัดสัมภาษณ์งาน

ใครว่า การที่บริษัท หรือ องค์กรหนึ่งรับสมัครงาน จะไม่มีใครมาสมัคร หรือ ว่าเราจะไม่มีคู่แข่งในการสมัครงาน อันนี้ไม่น่าใช่

 

ถึงแม้อัตราการว่างงานของประเทศไทยที่มีตัวเลขโชว์นั้นจะมีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ในความเป็นจริงนั้น ในการเปิดรับสมัครงานในแต่ละครั้งนั้น ทุกตำแหน่งที่รับสมัครไป มีคนที่สนใจส่งรีซูเม่มาที่บริษัท หรือ องค์กรมากมาย

 

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการเตรียมการเขียนรีซูเม่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สรรหาซึ่งจะดูแลในการตรวจและอ่านรีซูเม่เราในครั้งแรกนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะถ้าด่านไม่ผ่าน ด่านถัดไปในการสัมภาษณ์งานนั้นก็หามีเกิดขึ้นไม่ การสมัครงานในแต่ละครั้งเราจำเป็นต้องวางแผนและวางกลยุทธ์อย่างชาญฉลาดเพื่อให้ได้งานตามที่เราต้องการนั่นเอง

 

นอกจากรีซูเม่ ที่เราต้องใส่ใจในการเตรียมการก่อนส่งแล้ว ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ การได้เข้าไปสู่รอบการสัมภาษณ์งานสิ่งที่เป็นสิ่งที่ผู้หางานต้องการ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีทริคดี ๆ ในการสัมภาษณ์งานมาฝากกันเผื่อไว้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์งาน และเป็นการเตรียมตัวเพื่อซ้อมก่อนไปลงสนามจริง อย่าลืมนะคะ ว่าผู้สมัครงานนั้นทางบริษัทหรือ องค์กร นั้น

ไม่ได้เรียกสัมภาษณ์เพียงเราคนเดียวเท่านั้น เวลาเค้าเรียกสัมภาษณ์ทีก็จะมีสัดส่วนจำนวนตัวเลขอยู่เช่น เรียกสัมภาษณ์ 4 คน เอา 1 คน ที่ดูดีที่สุดเป็นต้น

ทริคที่ 1 มาก่อนเวลาสักเล็กน้อย และหาหนังสือติดมาสักเล่ม

เพราะระหว่างรอเราจะได้เปิดอ่านหนังสือไปพลาง ๆ ก่อนทำให้ผู้ที่พบเห็นเรานั้นจะมองเราแบบมืออาชีพ ไม่ปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ ไม่ควรก้มเล่นมือถือเพียงเดียว และควรจะมองดูรอบ ๆ ว่ามีอะไรอยู่ตรงไหน อ่านทุกข้อความที่เค้าติดไว้ จะได้เป็นข้อมูลเผื่อมีคำถาม

ทริคที่ 2 สวัสดี และสวัสดีทุกคนที่พบเจอ แม้นกระทั่ง รปภ ของบริษัท (จริง ๆ สำคัญที่สุด)

การสวัสดีเป็นสิ่งที่เป็นมารยาทที่งดงามและเป็นวัฒนธรรมของคนไทยมาแต่โบราณ การสร้างความประทับแรกเห็นที่ง่ายที่สุดคือ การสวัสดี และควรจะสวัสดีแม้นกระทั่ง รปภ และแม่บ้านที่นำน้ำมาเสริฟให้กับเรา กลุ่มแม่บ้านกับ รปภ จะเป็นกระบอกเสียงในการให้ข้อมูลสะท้อนกลับกับเราได้ดีมาก

ทริคที่ 3 ทบทวน และอ่านรีซูเม่ ของตัวเอง ก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์

การทบทวนข้อมูลของตัวเองอีกครั้ง จะทำให้เราสามารถเรียบเรียงความคิดได้ง่ายและสามารถถ่ายทอดเป็นเรื่องราว (Story Telling) ได้ซึ่งจะทำให้การเล่าเรื่องของเรามีความน่าสนใจและไม่สะดุด

ทริคที่ 4 การแต่งกายที่ต้องดูเหมาะสมกับตำแหน่งและธุรกิจขององค์กร

เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสัมภาษณ์งาน เราต้องแต่งกายให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่เราไปสมัคร และธุรกิจขององค์กร เรื่องเล็กน้อยแต่บางครั้งก็มีผลกับการตัดสินใจคัดเลือกผู้สมัครได้ด้วยเหมือนกัน

ทริคที่ 5 หน้าผมต้องเหมาะสม และเรียบร้อย

ลงทุนทำผมเถอะค่ะ เพื่อที่จะทำให้ทรงผมเราเข้าที่เป็นระเบียบเรียบร้อย น่ามอง และทรงผมนั้นมีผลต่อบุคลิกภาพเรามากพอสมควร เราต้องรู้ว่าเราไปสมัครงานตำแหน่งอะไร และตำแหน่งนั้นเค้าเน้นคนบุคลิกอย่างไรด้วยเหมือนกัน จริงแล้วนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของคาแรคเตอร์ ที่หลายองค์กรเริ่มมองหาแล้ว

ทริคที่ 6 โน๊ตบุ๊ค เพื่อพรีเซ็นต์งานที่ทำสำเร็จมาในอดีต

การเตรียมโน๊ตบุ๊คไปก็เพื่อจะได้โชว์ผลงานของเราที่เคยทำมาในอดีต ประสบการณ์ต่าง ๆ เราควรสะสมไว้ตั้งแต่ตอนนี้ เผื่อวันที่เราจะต้องใช้ อย่างเช่นในวันสัมภาษณ์เราจะได้มีพร้อม

ทริคที่ 7 มีแฟ้มโปรเจคงานที่เคยทำสำเร็จไว้ ไม่เสียหาย

หากเราสามารถทำแฟ้มรวบรวมโปรเจคที่เราเคยทำสำเร็จมาแล้วให้อยู่ในที่เดียว ซึ่งก็เป็นเหมือนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ทักษะ ผ่านประสบการณ์ของเรา

ทริคที่ 8 นอนให้เต็มตื่นจะได้มีพลัง ดวงตาใสแจ๋ว

การนอนจะมีผลต่อใบหน้าที่จะแสดงให้เห็นว่าเราสดชื่นมาหรืออดนอนมา ดวงตาที่อ่อนโรยเพราะอดนอนจะทำให้เราไม่สามารถมีพลังในการควบคุมผู้สัมภาษณ์

ทริคที่ 9 ฝึกประเมินบุคลิกภาพของผู้สัมภาษณ์และตอบให้ตรงกับความต้องการของเค้า

การที่เราสามารถประเมินได้ว่าผู้สัมภาษณ์แต่ละคนมีบุคลิกภาพแบบไหน จะทำให้เราสามารถตอบคำถามที่ตรงกับความต้องการของเค้าได้

ทริคที่ 10 มั่นใจในตนเอง อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน แต่ชัดเจน

การมาสัมภาษณ์งานเราต้องมั่นใจว่า มารอบนี้มีผ่านแน่นอน คือ จากการที่เค้าฟังเราอธิบายเค้าเข้าใจว่าตัวเรานั้นมีคุณค่า (Value) เรื่องอะไร จะมาช่วยทำให้บริษัทฯของเค้าดีขึ้นอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำคือใส่ความอ่อนน้อมถ่อมตนลงไปในความมั่นใจของเรา เคารพผู้ที่กำลังสัมภาษณ์เรา แต่การตอบคำถามต้องชัดและตรงประเด็น

ทริคที่ 11 จงฟังอย่างตั้งใจ และมีสติ ตอบให้ดีว่าเค้าถามว่าอะไร และตอบให้ตรงคำถาม

ความตื่นเต้นบางครั้งมี สิ่งที่หนี่งที่เราจะควบคุมมันได้ คือ การมี “สติ” ดังนั้นเราจึงต้องโฟกัสและมีสติอยู่ตรงหน้า ฟังคำถามของผู้สัมภาษณ์ให้ดีว่าเค้าอยากให้เราตอบว่าอย่างไร ก็จะช่วยทำให้เค้าประทับในการตอบคำถามของเราได้

ทริคที่ 12 เตรียมคำถามเด็ด ๆ ตอนสุดท้าย

โดยปกติก่อนจบเกือบทุกทีก็จะเปิดโอกาสในทุกคนถาม ดังนั้นจงเตรียมคำถามที่อยากรู้ไป แต่ไม่ควรถามคำถามที่เจ้าหน้าที่สรรหาหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลตอบได้ เพราะจะเสียดายโอกาสที่ได้นั่งอยู่ต่อหน้าผู้บริหารระดับสูงแล้วไม่ได้ถามคำถามในสิ่งที่เป็นข้อมูลที่สำคัญของตนเอง

  •