อะไรคือ Competency ถ้าหากไม่ใช่คนในวงการการทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources Management) หรือ พัฒนาบุคลลากรของบริษัท (Human Resources Development) อาจจะไม่ค่อยเข้าใจว่า Competency คืออะไร จริง ๆ แล้วก็คือ การพูดถึง สมรรถนะ ความสามารถ ศักยภาพ ของคนหรือพนักงานคนหนึ่งนั่นเอง ซึ่งจะวัดหรือมองเห็นจาก KSA คือ
- K – Knowledge คือ ความรู้
- S – Skills คือ ทักษะ
- A – Attribute Data คือ ลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล
โดยปกติจะมี 3 ระดับด้วยกันคือ
- Core Competency คือ สมรรถนะหลัก หรือ พฤติกรรมหลัก หรือ พฤติกรรมร่วมขององค์กรหรือหน่วยงาน หรือ บริษัทนั้น ๆ ที่เค้าต้องการให้พนักงานหรือคนในองค์กรแสดงออกมา และเวลาหาคน หรือ รับสมัครคน หรือ พนักงานแล้ว ส่วนใหญ่องค์กร หรือ หน่วยงาน หรือ บริษัท จะโฟกัสในส่วนของ Core Competency หรือ พฤติกรรมหลักนี่แหละ ซึ่งเราจะกล่าวถึงในถัดไป
- Functional หรือ Technical Competency
คือ สมรรถนะ หรือ ความรู้ ความสามารถ ศักยภาพของคน หรือ พนักงานที่ต้องการในงานนั้น ๆ ซึ่งก็จะต้องการความรู้ความสามารถหรือสมรรถนะ ที่แตกต่างกัน เช่น ฝ่ายขาย ก็จะ Technical Competency แตกต่างกับ ฝ่ายซ่อมบำรุง ซึ่งความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับความต้องการความรู้ ทักษะ และลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล ที่จำเป็นและเหมาะสมกับงานนั้น ๆ เพื่อให้สามารถทำงานนั้น ๆ ได้สำเร็จตามเป้าหมายของงานนั่นเอง - Leadership Competency
คือ สมรรถนะ หรือ พฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ ทักษะของการบริหารจัดการ ทักษะของการเป็นผู้นำ ซึ่งแต่ละองค์กร หรือ หน่วยงาน หรือบริษัท ก็จะกำหนดให้มีแตกต่างกัน ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม และธุรกิจขององค์กรว่าต้องการให้เป็นแนวไหน และจะมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน สำหรับกลุ่มพนักงานระดับที่เป็นหัวหน้าจนถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
แล้วเกี่ยวยังไงกับการหางาน หรือรับสมัครคน หรือ พนักงานเข้ามาทำงาน ซึ่งก็ได้เกริ่นไปในข้างต้นแล้วว่าในองค์กรสมัยใหม่ หรือ องค์กรที่เป็นบริษัทที่มีระบบและมีสาขาอยู่ทั่วโลก จะบริหารและสร้างคนให้มีลักษณะเป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อทำให้ธุรกิจของเค้าสามารถที่จะแข่งขันและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในตลาดนั่นเอง
ยกตัวอย่าง Core Competency ของบริษัทใหญ่ ที่หลาย ๆ คนรู้จัก เช่น DHL คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์, จิตสำนึกในการให้บริการ, การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน, จริยธรรม และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น
ดังนั้นการคัดเลือกผู้สมัคร เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานส่วนหนึ่งก็จะมาจาก Core Competency นั่นเอง ซึ่งเราในฐานะผู้ที่เป็นผู้สมัครและกำลังหางานทำ เมื่อได้รับโอกาสในการเข้าไปเป็นหนึ่งในผู้ถูกสัมภาษณ์ควรจะเตรียมตัวและทำความเข้าใจใน Core Competency ขององค์กร หรือ หน่วยงาน หรือ บริษัท นั้น ๆ ให้ชัดเจน หรือ บางองค์กร อาจจะเป็น Core Value ก็ได้ ซึ่งก็เป็นความหมายเดียวกันสำหรับองค์กรที่ต้องการสื่อถึงความสามารถ สมรรถนะ หรือพฤติกรรม ที่ต้องการ
การเตรียมตัวเพื่อทำให้เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจใน Core Competency หรือ Core Value ขององค์กรนั้น ๆ ก่อนไปสัมภาษณ์ หรือส่งประวัติ หรือ กรอกใบสมัครให้กับองค์กร หรือ หน่วยงาน หรือ บริษัท นั้นต้องทำอย่างไร
ทำความเข้าใจ Core Competency หรือ Core Value ขององค์กรนั้น ๆ แล้วถามตัวเองว่า เรามีลักษณะตามที่เค้าต้องการหรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการไปสมัครที่บริษัท DHL ตามตัวอย่างที่ให้ไปนั้นที่ DHL ต้องการ Core Competency ทั้งหมด 6 ตัวด้วยกัน คือ
- การมุ่งผลสัมฤทธิ์ เราต้องเข้าใจตัวเองและเข้าใจองค์กรว่า เราเป็นคนที่มีความรู้ ทักษะ และมีลักษณะพฤติกรรม ที่เป็นคนมุ่งผลสัมฤทธิ์ คือ เป็นคนที่ทำงานด้วยความมุ่งมั่นไหม งานไม่เสร็จก็จะต้องทำให้เสร็จ ทำโปรเจ็กตามกำหนดการไม่เสร็จก็ทำจนเสร็จ ไม่เสร็จก็ไม่หลับไม่นอน เพื่อให้ได้ตามที่รับปากอาจารย์หรือหัวหน้าหรือคนอื่นไว้ เราเป็นคนแบบนี้หรือเปล่า ถ้าใช่ข้อนี้ผ่าน แต่ถ้าไม่ใช่คนแบบนี้ บางทีเค้าก็มีตัวประเมินตอนสัมภาษณ์ เรียกว่า STAR model (มีอธิบายถัดไป)
- จิตสำนึกในการให้บริการ คำว่าจิตสำนึกหมายถึงสิ่งที่เป็นอยู่ในตัวเรามาจากข้างในที่รู้สึกว่าการให้บริการเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา ทำอะไรเราจะคิดถึงการบริการเป็นอันดับแรกเสมอ และไม่ใช่แค่การบริการแบบทำผ่าน ๆ แต่หมายถึงการบริการที่มาจากหัวใจข้างในของเราที่ต้องการบริการลูกค้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายนอกหรือภายในเป็นต้น เราเป็นคนแบบนี้หรือเปล่า ถ้าใช่ข้อนี้ผ่าน แต่ถ้าไม่ใช่เค้าก็จะดูว่าเราพอฝึกหรือพัฒนาได้ไหม แต่ถ้าเค้าเจอคนที่เป็นแบบนี้เลย เค้าก็จะเลือกคนนั้นที่ไม่ใช่เราก็เท่านั้น
- การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน หมายถึงเราไปสมัครตำแหน่งอะไร งานอะไร เรามีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ มีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านกระบวนการ วิธีการทำ การแก้ไขปัญหา การคิดต่อยอดในงานที่ทำหรือเปล่า ส่วนใหญ่ในการสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์จะให้เล่าสถานการณ์ในการทำงานมาเรื่องหนึ่ง และจะให้เราเล่าถึงเหตุการณ์ และผู้สัมภาษณ์ก็จะเริ่มลงมือประเมินเราแบบ STAR Model คือ เริ่มประเมิน S = Situation สถานการณ์ที่เราเจอว่าเจออะไรบ้าง T = Tasks งานที่ได้รับมอบหมายหรือลงมือทำคืออะไร A = Action เราได้ลงมือปฏิบัติหรือมีการกระทำอะไรบ้างเพื่อสนองต่องานหรือสถานการณ์ตอนนั้น R = Result ผลของงานหรือเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่าง งานสำเร็จ หรือ ล้มเหลว ส่วนใหญ่ไม่ใช่ประเด็นมากเท่ากับ ระหว่างทางเราได้เรียนรู้อะไร และนำมาปรับใช้ในการทำงานครั้งถัดไปอย่างไรไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นมาอีก
- จริยธรรม คำว่าจริยธรรม อาจจะดูยากในตอนที่สัมภาษณ์ แต่เค้าก็อาจจะมีการถามคำถาม หรือ ให้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่หมิ่นเหม่ต่อจริยธรรมทั้งของตนเอง ผู้อื่น และองค์กร ซึ่งเราก็ต้องทำความเข้าใจและถามตนเองว่าเรามีไหม ทั้งที่ลับและที่แจ้ง ถ้าไม่มีแนะนำอย่าไปสมัคร เพราะกรณีที่เค้าเอาจริยธรรมขึ้นมานั้น คือสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญสูงสุด
- การทำงานเป็นทีม โดยรูปแบบของการทำงานจะมีการทำงานอยู่ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ ทำงานแบบเป็นทีม กับ ทำคนเดียว หรือ ฝรั่งเรียกว่า One Man Show ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราชอบแบบไหน ส่วนใหญ่ One Man Show จะเป็นฝั่งตะวันตก และการทำงานเป็นทีมเป็นรูปแบบฝั่งเอเซียเรา ถ้า Core Competency หรือ Core Value กล่าวถึง การทำงานเป็นทีมแบบนี้ หมายความเค้าต้องการให้เราทำงานกับผู้อื่น และสำเร็จให้ได้ตามเป้าหมายไปด้วยกัน ไม่ได้ส่งเสริมให้คนโชว์ออฟ หรือ ทำงานคนเดียว เราก็ต้องประเมินตัวเองว่า เรามีลักษณะที่ทำงานหรือทำกิจกรรมแบบไหน บางทีผู้สัมภาษณ์สามารถประเมินเราได้จากงานอดิเรกได้เหมือนกัน