รูป ซุนวู

“รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” เป็นประโยคที่คุ้นหูกันดี ซึ่งเป็นข้อคิดเชิงปรัชญาจากซุนวู ผู้เขียนตำราพิชัยสงครามของซุนวู งงกันมั้ยเอ่ยว่าซุนวูเป็นใคร แล้วเค้าเขียนตำราอะไรกันนะ ไขข้อสงสัยกันสักนิดดีกว่า ซุนวูหรือผู้เขียนขอเรียกว่าปราชญ์ซุนวู ท่านเป็นนักการทหารและนักปกครองชั้นเลิศสมัยชุนชิว เมื่อประมาณ 2400-2500 ปีก่อนระหว่างพุทธกาล จริงๆแล้วประโยคนี้เกิดจากการรวมประโยคคำสอนของซุนวูที่กล่าวว่า

 

“การชนะทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย จึ่งถือว่าเป็นวิธีการอันวิเศษยิ่ง” และ “หากรู้เขา รู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธ์นั้นแล”

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากพระอัครเดชญาณเตโช (http://www.stou.ac.th/study/sumrit/2-58(500)/page4-2-58(500).html

 

สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้คำพูดทั้งสองก็คือไม่ว่าการจะทำสิ่งใดก็ตามเราต้องเรียนรู้ที่จะรู้จักทั้งต่อตนเองและฝ่ายตรงข้ามให้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะสถานการณ์ใดก็ไม่มีทางเสียท่าต่ออีกฝ่าย และเมื่อเรียนรู้ทั้งสองฝ่ายแล้วสามารถหาวิธีการให้บรรลุเป้าหมายได้โดยไม่ต้องออกแรงหรือสูญเสีย คือความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

 

เกริ่นประวัติท่านซุนวูและข้อคิดมากตั้งนั้น แล้วมันเกี่ยวกับการหางานมั้ยเนี่ย ข้อคิดของท่านซุนวูที่ได้กล่าวมาแล้วหลายร้อยปี แต่จริงๆแล้วเป็นปรัชญาที่แฝงข้อคิดที่นำมาใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัยและปรับใช้ได้กับหลายๆสถานการณ์ เพียงแค่เรารู้จักวิเคราะห์และนำมาปรับประยุกต์ใช้ตามแต่ละสถานการณ์อย่างเหมาะสม ดังนั้นหากเราจะเปรียบเทียนข้อคิดดังกล่าวกับการหางาน นั่นคือ การ “รู้เขา” คือ รู้จักบริษัทหรือองค์กรที่เราจะเข้าไปทำงาน นอกจากเหนือจากประวัติความเป็นมาของบริษัท ประเภทธุรกิจแล้วนั้นยังรวมไปถึงเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และถ้าเป็นไปได้วัฒนธรรมองค์กร และสไตล์การทำงานของบุคลากรก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งข้อมูลพื้นฐานของบริษัทนั้นสามารถค้นหาได้โดยง่ายจากอินเทอร์เนต ไม่ว่าจะเป็น Google พันทิพย์ ค้นเลยคะข้อมูลเพียบ บริษัทใหญ่ๆไม่มีปัญหา แต่บริษัทเล็กๆอาจหาข้อมูลลำบากหน่อย แต่อย่างไรก็ช่างต้องบริโภคข้อมูลอย่างมีสติ อ่านแล้วฟังหูไว้หูนะคะโดยเฉพาะกับข้อมูลเชิงแสดงความคิดเห็น มันแฝงไว้ด้วยความรู้สึกส่วนตัว ดังนั้นเราต้องบริโภคอย่างมีสตินะคะ

 

สำหรับข้อมูลเรื่องวัฒนธรรมองค์กร สไตล์การทำงานพวกนี้มันยากไปมั้ยคะพี่ จะให้ไปหาใน      อินเทอร์เนต มันไม่มีนะเออ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทขนาดเล็กไม่ต้องพูดถึงจะหายังไงหละคะ แค่ชื่อบริษัทบนเว็บยังยากเลยคะ ไม่เป็นไรคะ เราต้องสืบเสาะกันซะหน่อยแล้ว บางทีลักษณะการค้นข้อมูลจากชื่อบริษัท เรายังสามารถหาได้ในลักษณะของการค้นรีวิว มันก็พอจะมีข้อมูลเล็กๆน้อยๆบ้างนะคะ ถ้ามีคนเอามา แต่ถ้าเกิดไม่มีเลยไม่ยากคะ โทรเข้าไปบริษัทเลยคะ ติดต่อฝ่ายบุคคลเพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆที่เราต้องการทราบเพิ่มเติมได้เลยคะ

 

จริงๆแล้วเราสามารถสังเกตได้จากลักษณะการรับโทรศัพท์ วิธีการการตอบคำถาม การให้ข้อมูลต่างๆของเจ้าหน้าที่ มันจะเป็นการสะท้อนตัวตนขององค์กรได้ระดับหนึ่งเลยคะที่จะมีผลต่อความรู้สึกของผู้สมัครงาน สำหรับผู้สมัครกลัวว่าโทรไปถามจะเสียหายมั้ย ดูไม่ดีมั้ยไม่เสียหายคะ ถามเถอะมันเป็นสิทธิ์ของผู้สมัครที่จะค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจนะ ผู้เขียนมักจะบอกผู้สมัครเสมอว่าอย่าไปคิดว่าเฉพาะองค์กรมีสิทธิ์เลือกผู้สมัคร ผู้สมัครก็มีสิทธิ์เลือกองค์กรเหมือนกัน ต่างคนต่างมีสิทธิ์เลือกกัน ดังนั้นการมีข้อมูลที่เพียงพอจะช่วยการตัดสินใจให้ทั้งสองฝ่ายได้เป็นอย่างดีเลยคะ เกริ่นมาซะยาวนี่ไงคะคือการ “รู้เขา” ไม่ใช่รู้เพื่อรบชนะนะคะ เรารู้เพื่อจะตอบตัวเองว่านี่คือองค์กรที่เราพร้อมจะเดินและเติบโตไปด้วยกันหรือเปล่า

 

ถ้าใช่มา “รู้เรา” กันต่อดีกว่า รู้เราทำไมต้องรู้เราด้วย เราก็คือรู้ตัวเราดีอยู่แล้ว ทำไมต้องไปทำความเข้าใจอีก มันคือการมาทำความเข้าใจในทุกมิติของตัวเองคะ เพื่อที่เราจะไขว่คว้าให้ได้มาซึ่งตำแหน่งงาน และองค์กรในฝันที่เราอยากทำงานด้วยไงคะ เพราะว่าทำงานที่เปิดไม่ได้มีแค่เราที่สนใจ เรายังมีคู่แข่งอีกมากมายที่สนใจตำแหน่งเดียวกับเราและองค์กรเดียวกับเรา แต่ถ้าจะให้ไปเรียนรู้คู่แข่งทุกคนคงเป็นเรื่องยาก เรามารู้จักตัวเองและพัฒนาตัวเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเราดีกว่า

 

เมื่อเรารู้แล้วว่าเราต้องการสมัครงานองค์กรไหน ตำแหน่งงานว่าง อะไร เรามีข้อมูลต่างๆขององค์กรที่จำเป็นต่อการตัดสินใจแล้วตัวเราหละอย่างแรกเลย เรามีความรู้ ทักษะ ความสามารถอะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานนั้นๆ อย่างที่เคยเล่าสู่กันฟัง แค่ความรู้ ทักษะ ความสามารถหรือที่ภาษา HR เค้าเรียกกันว่าสมรรถนะหรือ Competency มันยังไม่พอหรอกนะคะ มันยังต้องดูต่อไปถึงว่าบุคลิกภาพ อุปนิสัย จุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเอง ความคิด ค่านิยม ความเชื่อ สไตล์การทำงานของตัวเราสอดคล้องกับองค์กรหรือเปล่า มันดูเหมือนไม่น่าเป็นเรื่องใหญ่ ไม่เห็นจำเป็นต้องสนใจเลย แต่อันที่จริงแล้วปัจจัยต่างๆเหล่านี้ก็มีผลโดยตรงต่อจิตใจของคนเรากันเลยที่เดียว และมันจะนำเราไปสู่การสร้างความสุขในการทำงานหรือที่รู้จักกันดีว่า Happy work life นะคะ

  •