การหางานทำในช่วงเศรษฐกิจแบบปัจจุบันนี้ อาจจะไม่ง่ายเหมือนเมื่อก่อน ยิ่งประเทศเราได้เปิดเป็น AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community – AEC) แล้ว แรงงานต่าง ๆ ของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้าร่วมในกลุ่ม AEC ก็สามารถมาทำงานที่บ้านเราได้ ทำให้เราซึ่งเป็นคนไทยเจ้าของประเทศก็ต้องกลับมาทบทวนตัวเองว่าเราจะทำอย่างไรในการทำงานให้มีความมั่นคง หรือต้องหางานใหม่เพื่อให้ได้งานตามที่ตนเองต้องการ แต่ทั้งนี้ก็ต้องตรวจสอบความสามารถของตนเองด้วยเหมือนกัน หรือ น้อง ๆ ที่จบใหม่กำลังหางาน หรือ นักศึกษาที่กำลังจะจบและจะเข้าสู่กระบวนการมองหางานและทำงานในลำดับถัดไป
ด้วยเหตุนี้เรามาตั้งหลักเพื่อหางานกันโดยวางกลยุทธ์กันสักหน่อยว่าเราควรจะต้องทำอย่างไรดี บางทีหลัก S.T.O.P. ก็สามารถนำมาใช้ได้ในการหางานเหมือนกัน
S = Sit หยุดและใจเย็น ๆ นิ่ง ๆ ก่อน
คือการนั่งลงอย่าเพิ่งฟุ้งหรือกังวลใจการหางาน ให้ใจเย็น ๆ แล้วนั่งลงก่อน อย่าเพิ่งคิดว่าเราทำได้ หรือ ไม่ได้ หรือ คิดว่าตัวเราจะมีความสามารถ มีทักษะ มีคุณสมบัติตรงตามที่ตำแหน่ง หรือ องค์กร หรือ หน่วยงานนั้น ๆ ต้องการหรือไม่ ให้ตั้งสติให้ดีใจเย็น ๆ แล้วมาวิเคราะห์ตัวเอง วิเคราะห์คุณสมบัติ กับหน้าที่ความรับผิดชอบของงานนั้น ๆ ว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อสมัครแล้วให้เค้าเรียกไปสัมภาษณ์และผ่านเป็นผู้ถูกเลือกในที่สุด
ตัวอย่าง
- กรณีเป็นนักศึกษา ให้มีความเข้าใจว่าเราเป็นผู้ได้เปรียบในตลาดแรงงาน เพราะเรามีค่าตัวยังไม่แพง และเป็นผู้ที่เปรียบเสมือนเป็นผ้าขาว ส่วนใหญ่บริษัทต้องการ เพื่อไปสร้าง (Build) เป็น Talent ในองค์กร
- กรณีเป็นผู้มีประสบการณ์ และกำลังตกงาน อยากให้ตั้งสติก่อน อย่าเพิ่งคิดว่าเราจะมีโอกาสได้งานหรือเปล่า จะสู้คนอื่นได้ไหม ยังไม่ต้องคิดใจเย็น ๆ ให้คิดว่าอย่างน้อยเราเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว มีข้อได้เปรียบเรื่องวิธีการทำงาน นั่งทบทวนความสามารถของตนเอง ว่าตัวเรามี ทักษะ ความสามารถ (Competency) อะไรบ้างที่จะไปขายให้กับเค้า
- กรณีเป็นผู้มีประสบการณ์ และกำลังคิดจะเปลียนงาน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้ถามตัวเองว่าที่ทำงานปัจจุบันนั้นตัวเองมีคุณค่าในองค์กรหรือเปล่า หรือเรามีความสำคัญ มีคนให้ความสำคัญมองเห็นคุณค่าเห็นมูลค่าจากงานที่เราทำหรือไม่ ให้มีสติเวลาตั้งคำถามกับตัวเอง และปัจจุบันตัวเราเองนั้นในตลาดต้องการใช่หรือไม่สำหรับความสามารถที่เรามี ไม่ควรตัดสินใจออกจากงาน โดยที่ยังหางานใหม่ไม่ได้เด็ดขาด เพราะมีความเสี่ยงสูงในยุคปัจจุบัน ยกเว้นฐานะทางบ้านไม่เดือดร้อน หรือ เราไม่มีภาระหนี้สินก็อาจจะสามารถลาออกจากงานโดยที่ยังไม่มีงานได้ ถ้าไม่ใช่ขอให้นั่งลงแล้วใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งรีบร้อนใจด่วนออกจากกงาน
T= Thinking ประมวลความคิดจากข้อมูลที่เรามี
จากนั้นก็คิดว่าเราจะเริ่มต้นหางานอย่างไร งานแบบไหนที่เราชอบและถนัด บางครั้งเราไม่มีทางได้งานที่เราชอบหรือรักขนาดนั้น สิ่งที่ทเราต้องคิด คือ ทำยังไงให้อยู่กับงานนั้น ๆ แล้วค่อย ๆ รักมันในที่สุด เพื่ออะไร ก็เพื่อที่จะเราจะได้ไม่ต้องหางานใหม่อีก และอาจจะทำให้เราเติบโตในหน้าที่การงานช้ากว่าคนที่ทำงานที่เดิม ๆ นานได้
ตัวอย่าง
- กรณีเป็นนักศึกษา คิดก่อนเลยว่าเราเรียนอะไรมา และจะไปทำอะไร สิ่งแรกที่เราควรคิดคือทำงานในสาขาที่ใกล้เคียงที่เราเรียนมา เราก็จะได้เปรียบ และสามารถหางานได้ง่าย ความตั้งใจเรียนในมหาวิทยาลัยมันสะท้อนออกมาเป็นเกรดเฉลี่ยของเรา ถ้าเกรดเราโอเค ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ให้คิดก่อนว่าวิชาเรียนบางตัวที่เราเกรดต่ำเค้าอาจจะถามว่าทำไม หรือ บางคนเกรดไม่สูงมากก็ให้คิดว่า เราจะเอาอะไรไปขายเช่น การเข้าร่วมกิจกรรม หรือ การเข้าชมรม หรือ การเป็นนักกีฬา เป็นตัวแทน เป็นอาสาตามสถานทีต่าง ๆ หรือ การเข้าค่าย การทำโปรเจค การเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่จะทำให้เราได้รับความสนใจและทดแทนเกรดที่ไม่สูงของเราได้
- กรณีเป็นผู้มีประสบการณ์ และกำลังตกงาน หรือ หางาน ส่วนใหญ่เราก็จะสมัครงานในตำแหน่งงานว่างที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราทำมาแล้ว เพื่อความได้เปรียบกับประสบการณ์ที่เรามี
- แต่สิ่งที่เราต้องคิดต่อคือ ประสบการณ์ที่เราได้รับมานั้น ได้สร้างองค์ความรู้ให้กับเราอะไรบ้าง เราได้เรียนรู้และเติบโตกับสิ่งที่เราเคยทำที่เรียกว่าเป็นประสบการณ์นั้นอย่างไร ทัศนคติต่อการทำงาน ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อหัวหน้างาน และ ต่อองค์กร จะเป็นสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ให้ความสนใจ ดังนั้นเราต้องคิดให้ดีก่อนตอบหรือแสดงความเห็น และไม่ควรโกหกเพื่อให้ตัวเองดูดี อีกประการหนึ่งเราก็ต้องคิดว่าเราเป็นคนที่มีบุคลิกลักษณะแบบไหน ควรที่จะทำงานกับองค์กร หรือ หน่วยงานที่มีลักษณะการทำงานแบบไหน เช่น องค์กรนั้น ๆ ต้องการทำงานกับที่มี Speed การทำงานสูง นั้นหมายความว่าเค้าชอบคนทำงานเร็ว คล่องแคล่ว ว่องไว ให้ข้อมูลชัดเจน เราก็ต้องคิดว่า เราใช่คนที่เค้ากำลังหาหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่เราก็ไม่ควรเสียเวลาไปสมัคร เพราะคุณสมบัติเราไม่ตรงนั่นเอง
O= Observation ศึกษาและสังเกตุสิ่งต่าง ๆ ให้ครบ
คือการสังเกตุว่าสถานการณ์ของตลาดแรงงานเป็นอย่างไร Demand ความต้องการของตลาดด้านแรงงาน และ Supply จำนวนชองแรงงานในตลาดที่ที่ในตำแหน่งที่เราสมัครหรือในงานที่เราสนใจ รวมถึงนักศึกษาที่กำลังจะเข้าตลาดแรงงาน หรือแม้กระทั่งแรงงานจากเพื่อนบ้านเป็นต้น เราก็ต้องทำการศึกษาและสังเกตุเพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมตัว และอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือ ต่างประเทศ บางทีก็เป็นองค์ประกอบใหญ่ในการที่เราจะต้องสังเกตุเพื่อเราจะได้รู้ว่าในสถานการณ์ไหนเค้าต้องการคนประเภทไหน ช่วงไหนอุตสาหกรรม หรือ ธุรกิจกำลังจะไป หรือ กำลังจะรุ่ง เพื่อให้ตัวเราสามารถที่ประเมินสถานการณ์ตลาดแรงงานได้อย่างชัดเจนและแม่นยำนั่นเอง
ตัวอย่าง
- กรณีเป็นนักศึกษา สิ่งที่เราต้องสังเกตุอย่างดี ตั้งแต่วันที่เรายังไม่จบ คือ แนวโน้มของธุรกิจ อุตสาหกรรม ว่ามันจะมีแนวโน้มเป็นไปในทางไหน ธุรกิจอะไรที่กำลังจะมา และธุรกิจอะไรกำลังเริ่มมีการขยับขาย หรือ มีการลดกำลังการผลิต มีสินค้าทดแทนในตลาดหรือไม่ หรือบางครั้งก็ต้องศึกษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะทำให้เราได้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และพัฒนาตนเอง หรือ สร้างมูลค่าเพิ่มจากผลของการสังเกตุตลาดของเรานั่นเอง
- กรณีเป็นผู้มีประสบการณ์ เราจะได้เปรียบกว่าคนอื่นเนื่องจากเราอยู่ในธุรกิจซึ่งมีข้อมูลให้เราได้เสพมากมาย เราจึงสามารถพยากรณ์ได้ว่าธุรกิจจะเป็นไปในลักณะไหน ที่ไหนมีความท้ายทาย หรือ ที่ไหนที่กำลังจะตาย อาชีพไหนที่ค่าตัวสูง และอาชีพไหนสามารถแทนทีด้วยซอฟแวร์ หรือ เครื่องจักร สิ่งที่เราต้องทำคือการเตรียมตัวให้พร้อมในสิ่งที่ตลาดต้องการ
P= Planning เริ่มวางแผน สร้างเส้นทางในการที่จะพิชิตงานนั้น ๆ ให้ได้งานที่เราต้องการอยากได้
การหางานโดยไร้เข็มทิศ หว่านแหส่งรีซูเม่ไปหลายแห่ง เน้นปริมาณก็อาจจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราได้มีโอกาสถูกเรียกไปสัมภาษณ์และอาจจะได้งานในที่สุด แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราจะเปลี่ยนวิธีการใหม่ สร้างกลยุทธ์ในการหางาน มีแผนการที่ชัดเจนเพื่อให้ไม่หลงทาง ไม่มั่ว และไม่เสียเวลาไปสัมภาษณ์ แล้วท้ายที่สุดบอกไม่ใช่ หรือ องค์กร หรือ หน่วยงานปฏิเสธมา
ตัวอย่างการวางแผน
- สำหรับผู้หางานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา หรือ ผู้มีประสบการณ์ที่กำลังหางาน นั้น เราต้องตรวจสอบเว็บไซด์หางานก่อนแล้วคัดกรองเฉพาะตำแหน่ง เนื้องาน หรือ พื่นที่ของงานนั้นก่อนว่าจะต้งเป็นแบบไหน แล้วถึงค่อยมาดูคุณสมบัติ เพื่อจะได้รู้ว่าเราตรงไหม แล้วค่อยไปดู Job Description หรือ Role and Clarification คือ ตัวเนื้องานที่ต้องรับผิดชอบนั่นเอง จากนั้นคัดเลือกงานที่เราสนใจจริง ๆ สัก 10 งานแล้วมาทบทวนกับรีซูเม่ว่าในประวัตินั้นตรงกับความต้องการขององค์กร หรือ หน่วยงานเสมอ ถ้าไม่ตรง ไม่ต้องเสียเวลาส่งไป แต่ถ้าตรงก็ให้ส่งไปแล้วหลังจากกนั้นโทรติดตาม ว่าได้รับรีซู่เม่ของเราหรือยังด้วยความนอบน้อม หรือ อาจจะส่งประวัติอีกแบบซึ่งแสดงความเป็นตัวตน และความสนใจของงานที่สมัคร เป็นต้น