เกษียณอายุ

เป็นที่ทราบดีกันว่าโลกเรากำลังเปลี่ยนเข้าไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งหากมองที่บ้านเราประเทศไทยนั้นมีการคาดการณ์จากตัวเลขสถิติของประชากรคนไทยว่าในปี พ.ศ. 2568 นั้น ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่ง ณ ตอนนั้นคาดว่าประชากรผู้สูงอายุจะมีมากถึง 14 ล้านคน อะไรเป็นตัวชี้บ่งว่าสังคมเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุ นั่นก็คือ ตามคำจำกัดความหรือนิยามขององค์การสหประชาชาติ ว่าถ้าประเทศหรือสังคมไหนมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเป็น 10% ของประชากร หรืออายุ 65 ปี ขึ้นไป 7% ของประชากร จะถือได้ประเทศหรือสังคมนั้นเป็นสังคมผู้สูงอายุ

 

ตอนนี้เราอายุกันเท่าไหร่แล้วครับ และอีกกี่ปีเราจะเข้าสู่วัยปลายของการทำงาน พร้อมที่จะเกษียณ หรือ พร้อมที่จะให้เค้าต่ออายุสัญญาจ้างงาน เป็นคำถามชวนคิด ที่อยากฝากไว้ถามทุกคนเพื่อเป็นข้อเตือนใจในการทำงานวันนี้ที่เรายังมีงานทำ

 

แต่สำหรับผู้ที่เกษียณแล้ว การเตรียมตัวอาจจะแตกต่างไป เนื่องจากเราได้พ้นวัยเกษียณแล้ว คราวนี้เราจะลองมาศึกษากันว่ามีงานอะไรบ้างที่พวกเราคนเกษียณแล้วยังเป็นที่ต้องการของด้านตลาดแรงงานของประเทศไทย หรือ ประเทศเพื่อนบ้าน

 

  1. อาชีพเสือนอนกิน

    อาชีพเสื้อนอนกิน คือ อาชีพอะไรนะ ก็อาชีพที่เราจะมีรายได้เข้ามา (Passive Income) โดยที่เราอยู่เฉย ๆ เงินก็ไหลโอนเข้ากระเป๋าเราทุกเดือน ทุกครั้งซึ่งอาชีพนี้บางทีเราก็ต้องสร้างมาก่อนที่เราจะเกษียณ หรือ อาจจะลงทุนหลังเกษียณก็ได้ ยกตัวเอย่างเช่น ทำอพาร์ทเม้นให้เช่า ซื้อคอนโดให้เช่า ซื้ออาคารพาณิชย์ให้เช่า ลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีที่มีเงินปันผลดี ๆ มีรายได้พอกับที่เราต้องการในแต่ละเดือน ทำโกดังสินค้าให้เช่า ทำพื้นที่ว่างเป็นตลาดเก๋ ๆ ให้เช่าพื้นที่ขายของ ขายอาหารต่าง ๆ ทำโฮมออฟฟิศให้เช่า ซื้อเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ หรือ ตู้น้ำหยอดเหรียญ เป็นต้น

  1. อาชีพทำสิ่งที่เรารัก

    อาชีพที่เรารักคือ อาชีพที่เราทำแล้วมีความสุข อยู่กับมันได้ตลอดเวลาทั้งวัน มีแรงบันดาลใจ (Passion) ในการทำให้เกิดผลสำเร็จ หลงไหลกับสิ่งที่ทำ ถึงแม้เราจะอายุมากขนาดไหนแต่ถ้าเป็นสิ่งที่เราชอบเราจะสามารถทำมันได้ตลอดเวลา และเมื่อเรารักและชอบขนาดนี้ การศึกษาหาข้อมูลความรู้เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มทักษะในสิ่งที่เราชอบจะไม่หยุดนิ่งเลย ซึ่งเป็นธรรมดาของนิสัยปกติของมนุษย์ทุกคน ยกตัวอย่างอาชีพที่เรารัก เช่น การถ่ายภาพ  การเขียนหนังสือ  การวาดภาพ วาดการ์ตูน การปั้นศิลปะแขนงต่าง ๆ ดนตรีแขนงต่าง ๆ การฝึกเป็นครูโยคะ  ครูการออกกำลังกายแบบชี่กง ไท้เก็ก ต่าง ๆ การขายของสะสม การขายของเก่าที่เราสะสม เป็นต้น

  1. อาชีพนำวิชาชีพมาขยายผลต่อ

    อาชีพที่เราสามารถนำวิชาชีพที่เราเคยทำงานมาในระยะเวลาหลายปีจนเกษียณจนกลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญเราสามารถนำมาต่อยอดนำมาขยายผลต่อไปเป็นที่ปรึกษา (Consultant) เป็นโค้ช (Coach) ในเรื่องที่เราถนัดเฉพาะด้านนั้น ๆ เป็นวิทยากร (Trainer) ที่ให้ข้อมูลความรู้แก่คนรุ่นหลัง ได้นำความรู้ที่ได้รับในอดีตอันมากมายมาแชร์ต่อ และสำคัญที่สุดได้นำประสบการณ์ (Experience) หรือ กรณีศึกษา หรือ สิ่งที่เคยทำในอดีต (Case Study or Practices) มาเล่าเพื่อให้เป็นบทเรียน (Lesson Learn) ซึ่งเป็นสิ่งที่มูลค่ามหาศาลในตัวของคน ๆ หนึ่งที่ได้สั่งสมมา นอกจากจะได้นำสิ่งที่เรามีมาสร้างประโยชน์ในรุ่นถัดไป เรายังได้ฝึกสมองทำให้สมองมีการพัฒนาตลอด สร้างคุณค่า (Value) ของการเป็นคนสูงวัยอย่างมีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

  1. อาชีพช่วยเหลือสังคม

    อาชีพช่วยเหลือสังคม อาจจะเป็นอาชีพที่เราอาจจะไม่ได้รับค่าจ้างสักเท่าไหร่ แต่เป็นอาชีพที่มีมูลค่ามากมายมหาศาลทางด้านจิตใจของผู้สูงวัยเอง การช่วยเหลือผู้อื่นทำให้เราได้รับความสุขใจทันทีที่เราได้ลงมือทำหรือแม้แต่เพียงคิดจะให้ใจเราก็เป็นสุข ระหว่างทำก็อิ่มเอิม สุขใจได้รับรอยยิ้มหลังทำในสิ่งที่เราได้ช่วยเหลือผู้อื่น ในประเทศไทยมีองค์กรการกุศลมากมายที่เราสามารถสมัครเข้าไปเป็นสมาชิกเพื่อช่วยงานเค้า หรือ ถ้าไม่อยากผูกมัดก็หางานอาสาสมัครทั่ว ๆ ไปที่เค้าประกาศในแต่ละเดือน นอกจากนั้นเรายังสามารถเป็นอาสาสมัครในต่างประเทศได้อีกด้วย ซึ่งการเดินทางไปเป็นอาสาสมัครที่ต่างประเทศนั้นบางทีเราอาจจะได้งานทำโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ การทำอาชีพช่วยเหลือสังคม หรือ การรับใช้ผู้อื่น เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้เราลดอัตตาของเราเอ็งให้เล็กลง สร้างโลกใหม่ที่ทำให้เราเข้าใจว่า ชีวิตเราต่างกันและมันก็เป็นเช่นนี้เอง ซึ่งบางครั้งการไปเป็นอาสาสมัครนั้นเราก็จะได้พบเจอเพื่อนใหม่ สิ่งใหม่มากมายที่เราอาจจะไม่เคยพบเจอในช่วงที่เราหมกมุ่นทำงานในช่วงวัยทำงานก็ได้

  1. อาชีพเริ่มต้นใหม่ในชีวิต

    อาชีพเริ่มต้นใหม่ในชีวิต คืออะไร คืออาชีพที่เราไม่เคยทำมาก่อน เราเพิ่งคิดและสนใจที่จะทำหลักงจากที่เราเกษียณ เราจึงเริ่มวางแผนว่าเราควรจะเริ่มก้าวเดิน ณ จุดใด ความสนุก ความกระชุ่มกระชวยในวัยหนุ่มสาวจะกลับมาอีกครั้ง ลองวางแผนทำในสิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อน เช่น ไม่เคยทำอาหารมาก่อน แต่ตั้งใจจะเป็นเชฟ ฝีมือดี เปิดร้านเล็ก ๆ ที่หน้าบ้าน หรือ สร้างเพจขึ้นมาเป็นการสั่งอาหารและส่งตามบ้าน เราจะกลายเป็นเด็กอีกครั้ง ที่จะทำอะไร หยิบจับอะไรก็ดูตื่นเต้น ไปเจอคนที่เรียนด้วยกัน ได้เดินทางตระเวณไปชิมอาหารในทุกร้านอาหาร ไปนั่งพิจารณาดูว่าอาหารจานนี้รสชาดเป็นอย่างไร ให้คะแนนเท่าไหร่ และมีส่วนผสม การปรุงเป็นอย่างไร เริ่มสนใจอยากรู้จักเจ้าของร้าน อยากขอสูตรอาหาร ทานอะไรก็จะทานช้า ๆ เพื่อรับรู้รสชาดของอาหาร หลังจากนั้นก็นำสิ่งที่ได้มาฝึกทำอาหารที่บ้าน ทำให้คนที่บ้าน เพื่อนบ้านทาน และแลกเปลี่ยนให้ข้อมูลว่าเป็นอย่างไรบ้าง จนกระทั่งเราเปิดร้านเองได้ในที่สุด เป้าหมายไม่ใช่เพียงแค่เงินที่ได้จากการขายอาหาร แต่ระหว่างการสร้างทางต่างหากที่จะสร้างคุณค่าในใจเรา ให้เราได้เริ่มศึกษาเรื่องใหม่ ๆ เรื่องที่เราไม่คุ้นเคยอีกครั้ง

  •