รูปป้ายสัญลักษณ์ผู้พิการ

ในประเทศไทยถือว่าการคุ้มครองหรือผลประโยชน์ที่ทางรัฐบาลสนับสนุนและช่วยเหลือผู้พิการในสังคมนั้นอยู่นะดับที่ดีพอใช้  ไม่ใช่ไม่มีสวัสิดการรัฐ หรือ กฎหมายคุ้มครองดูแลผู้พิการเลยก็หาไม่ เพราะมีกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการถึง 23 ฉบับดังรายละเอียดข้างล่าง
(ที่มา http://www.pwdsthai.com)

 

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ( เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคนพิการและสิทธิสวัสดิการสังคม)

  3. กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐาน อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ.2534

  4. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ. 2550

  5. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

  6. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2554

  7. พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

  8. กฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

  9. พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556

  10. กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคารสถานที่หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555

  11. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

  12. กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคารสถานที่ ยานพาหนะหรือบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556

  13. พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551

  14. พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

  15. พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551

  16. พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

  17. พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546

  18. พระราชบัญญัติ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534

  19. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2552 การสนับสนุนการอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ สามารถนําค่าอุปการะเลี้ยงดูมาหักลดหย่อนในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  20. พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 498) พ.ศ.2553 ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ให้แก่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฯ

  21. พระราชกฤษฎีกา ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ที่รับคนพิการเข้าทำงาน และ เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ซึ่งได้จัดอุปกรณ์ สิ่งอํานวยความสะดวก หรือบริการให้แก่คนพิการ

  22. พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 519) พ.ศ. 2554 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวกฯ

  23. กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร

 

ซึ่งหนึ่งในยี่สิบสามฉบับนั้น ในหัวข้อที่หก จะพูดถึงเรื่อง “กฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.255” โดยเนื้อความที่สำคัญกล่าวถึงสถานประกอบการกับการจ้างงานผู้พิการเข้ามาทำงาน “ข้อ ๓ ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไปรับ

คนพิการที่สามารถทํางานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตําแหน่งใดในอัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการทุกหนึ่งร้อยคน

ต่อคนพิการหนึ่งคน เศษของหนึ่งร้อยคนถ้าเกินห้าสิบคนต้องรับคนพิการเพิ่มอกหนึ่งคน” โดยในข้อความนี้ทำให้เห็นถึงโอกาสของผู้พิการในงานที่จะได้ทำงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากกฎหมายช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้พิการมีช่องทางการทำงานเพิ่มขึ้น

 

สำหรับวิธีการหางานสำหรับผู้พิการนั้น สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ ความรู้ (Knowledge) ความชำนาญ (Specialist or Expert) ความสามารถ (Competency) และ ทักษะ (Skills) เริ่มต้นเราต้องวางเป้าหมายของเราเสียก่อนว่าเราอยากทำงานอะไร ซึ่งไม่มีผลกับความพิการของเรา และให้เรามุ่งมั่นศึกษาเรื่องนั้นจนรู้จริง ฝึกฝนในเรื่องดังกล่าวให้เป็นผู้ชำนาญรู้จริงในสิ่งที่ตัวเองทำ เมื่อมั่นใจแล้วเราเองก็สามารถที่ส่งรีซูเม่หรือประวัติของเราเอง พร้อมกับประสบการณ์ในการฝึกฝนเรื่องดังกล่าวให้กับสถานประกอบการ ซึ่งมีมากมายเหลือเกินในประเทศไทย

 

โดยเราสามารถเข้าไปดูรายละเอียดชื่อของบริษัทที่จดเป็นบริษัทจำกัดไปที่เว็บไซด์ของกระทรวงพาณิชย์ http://www.dbd.go.th/เพื่อนำเสนอตัวเองเป็นพนักงานของบริษัทนั้น ๆ หรือ จะเข้าไปดูเว็บไซต์หางานที่รับสมัครงานทั่วไป แล้วส่งรีซูเม่ พร้อมแนบ“กฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.255” เพื่อให้เป็นเอกสารอ้างอิงเรื่องการรับคนพิการเข้าทำงานตามกฎหมายกำหนด ก็จะช่วยให้ฝ่ายสรรหาหรือเจ้าหน้าที่รับสมัครพนักงานสามารถที่จะเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายขึ้นและสามารถนำเรื่องของเราไปพิจารณาเพื่อรับทำงานต่อไปค่ะ ขอให้โชคดีทุกท่านค่ะ

  •