รูปใบประวัติ (Resume) เพื่อใช้สมัครงาน

คนหางาน งานหาคน เป็นวัฏจักรคู่โลกการทำงาน งานก็หาคน คนก็หางานแล้วจะทำอย่างไรให้งานกับคนมาเจอกันมาดูกันดีกว่าว่าสำหรับคนแล้วจะมีเทคนิคอย่างไรให้ได้งาน

1. ก่อนอื่น สำรวจตัวเองกันก่อน

รูปแว่นขยายใช้ส่อง เพื่อการสำรวจตัวเอง ว่าพร้อมสำหรับงานใหม่หรือยัง

มาเริ่มต้นกันจากเราต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าเราเองมีสมรรถนะ (ความสามารถ เช่น ความรู้ ทักษะ) อะไรอยู่ในตัวเองกันบ้าง สำหรับน้อง ๆ จบมาใหม่ ๆ อาจจะยังมองไม่เห็นว่าตัวเราเองมีสมรรถนะอะไรบ้าง เพียงแค่รู้ว่ามีความรู้อะไรบ้าง จบอะไรมา สิ่งที่น้องๆ จบใหม่ไม่ควรมองข้ามคือกิจกรรมที่ทำระหว่างเรียนไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกสถาบัน หรือการทำงานพิเศษหารายได้เสริมระหว่างเรียน เช่น การเป็นประธานชมรม กิจกรรมค่ายอาสา สมัครเป็นพนักงานชั่วคราวช่วงปิดเทอม หรือแม้กระทั่งการขายของตามตลาดนัดต่างๆก็ตาม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แหละจะเป็นสิ่งสะท้อนทักษะและประสบการณ์ของน้องๆได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องกังวลไปว่าเราเป็นนักศึกษาจบใหม่ไม่มีประสบการณ์จะไม่มีอะไรไปแข่งกับคนที่มีประสบการณ์ได้ มั่นใจเข้าไว้ว่าเราก็เจ๋งแค่เราเลือกมานำเสนอให้ตรงจุดแค่นั้นเอง ส่วนคนที่มีประสบการณ์การทำงานแล้วก็คงจะกังวลน้อยกว่าน้องๆจบใหม่หน่อยในเรื่องของประสบการณ์เพราะเรามีมาในระดับหนึ่งแล้ว เหลือแค่การนำเสนอแล้วหล่ะ

2. จัดเตรียมเอกสารการสมัครงาน

  • ประวัติส่วนบุคคล:

    รูป CV (Curriculum)

    ใบเบิกทางแรกที่จะทำให้งานรู้จักเราก็คือประวัติส่วนบุคคลที่เรารู้จักกันใน ชื่อว่า Resume หรือ Curriculum Vitae (CV) นั่นเอง แล้วเราจะเอาอะไรใส่เข้าไปในประวัติส่วนบุคคลบ้างนะ ก็ควรจะมีข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ปัจจุบันหรืออาจเป็นที่อยู่ถาวร ข้อมูลตรงนี้เองที่ส่วนหนึ่งเจ้าหน้าที่สรรหาจะใช้ในการประเมินเบื้องต้นว่าผู้สมัครจะสามารถมาปฏิบัติที่บริษัทได้หรือไม่ สถานที่ปฏิบัติก็เป็นอีกปัจจัยที่ผู้สมัครจะตัดสินใจเลือกสมัครงานเหมือนกันนะ เบอร์โทรศัพท์และอีเมล์สำหรับการติดต่อ แนะนำเล็กน้อยสำหรับข้อมูลตรงนี้เบอร์โทรศัพท์ควรเป็นเบอร์ที่ติดต่อได้ง่าย สะดวกพร้อมรับสายตลอดเวลานะคะ เพราะเราก็ไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่สรรหาจะติดต่อเราตอนไหน ส่วนของอีเมล์ก็เช่นกันอาจเป็นเรื่องเล็กๆน้อยแต่เป็นช่องทางการติดต่อหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว ฉะนั้นชื่ออีเมล์ควรเป็นชื่อที่ง่ายต่อการจดจำ ชื่อไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป เลือกใช้คำที่เหมาะสมเพื่อความสุภาพและป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งข้อมูลให้กับผู้สมัครนั่นเอง
  • ประวัติการศึกษา: ต่อไปก็เป็นส่วนของข้อมูลประวัติการศึกษา วิชาเอกที่จบการศึกษา
    เราอาจจะเลือกมาหนึ่งถึงสามอันดับจากสูงสุดและรองลงมา ไม่จำเป็นที่เราจะต้องบอกถึงระดับอนุบาลนะคะ จะว่าไปผู้เขียนเองก็เคยเจอมาด้วยตัวเองว่ามีประวัติที่เขียนการศึกษามาตั้งแต่อนุบาล ก็น่ารักไปอีกแบบเนอะ
  • ประวัติการทำงาน: มาถึงข้อมูลช่วงไฮไลต์คือข้อมูลประวัติการทำงาน น้องๆ ที่จบใหม่ไม่ต้องกังวลไปว่าเราไม่มีประวัตินี่จะให้เขียนประวัติการทำงานได้อย่างไร ไม่ยากเลยเราแค่เลือกข้อมูลลักษณะกิจกรรมระหว่างการศึกษาหรืองานพิเศษที่ทำช่วงระหว่างการศึกษา เราเอาข้อมูลพวกนี้แหละมานำเสนอ แต่สำหรับคนทำงานหยิบประวัติเก่งๆ ของเราขึ้นมาอวดกันได้เลยนะ ที่นี้จะเขียนยังไงให้น่าสนใจนะประวัติการทำงานของเราเนี่ย พื้นฐานเราให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่สรรหากันสักเล็กน้อยว่าเราทำงานหรือทำกิจกรรมมาช่วงระยะเวลาไหน นานแค่ไหน ทำที่บริษัทอะไรหรือกิจกรรมอะไรเป็นตัวเกริ่น แล้วเรามาไล่เรียงถึงสิ่งที่เราเคยทำกันมาได้เลย โจทย์ก็คือจะเขียนอย่างไรดีให้เจ้าหน้าที่สรรหาและไลน์เมเนเจอร์สนใจในประวัติของเราแล้วเรียกเราไปสัมภาษณ์ ดังนั้นเราควรจะเลือกสิ่งที่เป็นไฮไลท์หรือสิ่งที่เป็นจุดเด่นในงานหรือกิจกรรมนั้นๆมานำเสนอให้เห็นภาพว่าเราทำอะไรมา
    • เช่น ปี 2558-2559 ดำรงตำแหน่งประธานสมโมสรค่าอาสาพัฒนาชุมชน หน้าที่และความรับผิดชอบขียนแผนและนำเสนอโครงการค่ายอาสาและพัฒนาชุมชน
    • หรือ ปี 2558-2559 ดำรงตำแหน่งผู้จัดการส่วนงานสรรหาและคัดเลือก หน้าที่และความรับผิดชอบ บริหารและวางแผนกำลังคน เพื่อกำหนดกลยุทธ์การสรรหาบุคคลากรตามเป้าหมายปี 2558 เป็นต้น
    • สิ่งที่สำคัญในการเขียนประวัติส่วนบุคคลคือการหยิบยกเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่สำคัญและประสบความสำเร็จพูดง่ายๆก็คือชูผลงานที่โดดเด่นของเรานั่นแหละ นอกจากประวัติการทำงานแล้วก็จะมีข้อมูลในส่วนของทักษะความชำนาญเฉพาะทาง เช่น ภาษา พิมพ์ดีด โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งบางท่านเลือกจะนำเสนอในลักษณะของกราฟแมงมุม (Spider Diagram) ก็ช่วยให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น ข้อมูลประวัติการฝึกอบรม
  • บุคคลอ้างอิง: ในส่วนของบุคคลอ้างอิงจะใส่หรือไม่ไส่ก็ได้นะ ☺
  • รูปถ่าย: ทั้งนี้บางคนอาจสงสัยว่ารูปติดประวัติหละควรจะใช้รูปแบบไหนติดลงในประวัติ ผู้เขียนแนะนำว่าโดยทั่วไปควรใช้รูปสุภาพ ทางการหน่อยนะ ยกเว้นแต่เป็นสายงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น นักออกแบบ ครีเอทีฟ ฯลฯ อาจจะสามารถเลือกใช้รูปที่นำเสนอถึงความเป็นตัวเองก็ได้นะ

 

รูปข้อคิดประวัติสมัครงาน

“..ข้อคิดสำฝากไว้ สำหรับประวัติส่วนบุคคลไม่จำเป็นว่าเราจะต้องทำในรูปแบบเอกสารตลอดไป ยังสามารถนำเสนอในรูปแบบพรีเซ้นต์เทชั่น การทำวีดีโอนำเสนอประวัติของตัวเองก็เป็นการสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สมัครได้อีกทาง แต่ก็ควรอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมนะคะ เมื่อเราเตรียมประวัติกันเรียบร้อยแล้วเรามาเลือกดูตำแหน่งงานที่เปิดอยู่ในท้องตลาด เรามาเทียบดูกันเลยว่าตำแหน่งงานที่เปิดอยู่นั้นตรงกับคุณสมบัติของเราหรือไม่ ถ้าเจองานที่ใช่อย่ารอช้าจัดส่งไปวัติของเราไปให้บริษัทกันเลย เมื่อเราได้รับการติดต่อให้ไปสัมภาษณ์งานสิ่งที่เราจะเตรียมความพร้อมก็คือประวัติ บริษัทที่เราสมัครงาน ข้อมูลและรายละเอียดตำแหน่งงานที่เราสมัคร และประวัติข้อมูลของตัวเองให้พร้อมแล้วลุยกันเลย..”

 

3 การแต่งกาย

รูปการแต่งตัวสุภาพ เพื่อการสัมภาษณ์งาน

เมื่อถึงกำหนดวันสัมภาษณ์งานมาถึงพกความมั่นใจ แต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสม ไปก่อนกำหนดเวลาสัมภาษณ์เพื่อการเตรียมตัวและป้องกันการไปสาย

4. ในห้องสัมภาษณ์

รูปการสัมภาษณ์งาน

  • เมื่อเข้าห้องสัมภาษณ์แล้วกล่าวสวัสดีและยิ้มทักทายผู้สัมภาษณ์ ตอบคำถามฉะฉานด้วยความ มั่นใจ สบตามผู้สัมภาษณ์
  • หากมีคำถามหรือไม่เข้าใจขออนุญาตทวนซ้ำหรือขอคำอธิบายก่อนการตอบคำถาม หรือหากเจอคำถามภาษาอังกฤษแล้วตัวเราเองรู้สึกไม่มั่นใจหรือไม่ชำนาญ แจ้งให้ผู้สัมภาษณ์ทราบก่อนล่วงหน้าและพยายามตอบคำถามเท่าที่สามารถตอบได้ หากไม่สามารถพูดหรือคิดคำออก ขออนุญาตผู้สัมภาษณ์ตอบเป็นภาษาไทยและเรามีแผนจะพัฒนาเรื่องภาษาของเราอย่างไรบ้าง เท่านี้เราก็จะสร้างความประทับใจและชิงตำแหน่งงานมาไว้เป็นของเรา (สำหรับท่านที่สนใจอ่านเพิ่มเติมเรื่อง ทักษะการตอบคำถามสัมภาษณ์ในรายละเอียดมากกว่านี้ ไปอ่านเพิ่มเติมกันเลย คลิก)

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้หลายๆท่านอาจจะบอกว่ามันเกร็ง มันกังวล มันกลัว เป็นเรื่องปกติของคนเราทุกคน เพียงแค่เราตั้งสติ ฝึกตัวเองอยู่เสมอพร้อมรับกับสถานการณ์ด้วยความมั่นใจไม่ว่าสถานการณ์ไหนเราก็รับมือได้หมด งานที่ตั้งใจไม่ไกลเกินเอื้อมคะ

  •  
     

ทักษะ - คำแนะนำอื่นๆ