ถ้าหากพูดถึงตลาดแรงงาน เราก็คงต้องนึกถึงแรงงานในตลาด คำว่าแรงงานในตลาดในที่นี้หมายถึง ผู้ที่กำลังจบใหม่ซึ่งกำลังต้องการสมัครงานและหมายรวมถึงผู้ที่กำลังหางานไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างประเทศที่มีความต้องการในการเข้ามาหางานทำในประเทศไทย

 

สำหรับเมืองไทยเราถ้าดูตามสถิติตัวเลขอัตราการว่างงานน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งตามหลักการแล้วอัตราการว่างงานที่ต่ำหมายถึงแรงงานในตลาดประเทศไทยที่มีการว่างงานนั้นไม่ค่อยมี คือ ส่วนใหญ่แรงงานในประเทศไทยนั้นสามารถมีงานทำตามข้อมูลที่ปรากฎ แต่ในความเป็นจริงหรือในตลาดแรงงานจริง ๆ นั้นอาจจะต้องทบทวนกันอีกที ว่าแรงงานที่ตลาดต้องการนั้น จริง ๆ แล้วตรงกับความต้องการขององค์กรหรือหน่วยงานเอกชนที่เค้าต้องการจริง ๆ หรือเปล่า ในมุมมองของงานวิจัยของบริษัทคอนซัลแต้นท์ชั้นนำอย่าง Hey Group ในการเป็นองค์กรทีมีศักยภาพสูงนั้นมีความต้องการ

 

  • “คน” คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร
  • ศักยภาพในการนำพาทีม
  • พนักงานเป็นหนึ่งเดียวกับธุรกิจ
  • พนักงานได้รับอิสระมากกว่า
  • สิ่งสำคัญที่สุดคือการเติบโตและการพัฒนา
  • สร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน
  • พนักงานไม่ได้รู้สึกว่าได้รับค่าตอบแทนมากเกินไป

 

จากหัวข้อข้างบนที่องค์กรต้องการเป็นองค์กรที่มีศักยภาพสูงนั้น เราลองมาดูว่า “สิ่งที่องค์การต้องการ ในตลาดแรงงาน” นั้นคืออะไร

 

  • “คน” คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร
    • เมื่อองค์กรมองว่า “คน” คือ สิ่งที่สำคัญ ดังนั้นองค์กรจะต้องมีการคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติและความสามารถใกล้เคียงกับความต้องการของธุรกิจขององค์กร
    • องค์กรจะมีการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรที่มีค่าอย่างเช่น พนักงาน หรือ คน และมีการเพิ่มคุณค่าให้กับคนทำงานเพื่อให้ทำงานตอบสนองต่อธุรกิจและกลายเป็นองค์กรที่มีศักยภาพสูง
    • ประเด็นชวนคิด คือ เราในฐานะที่เป็นผู้ต้องการงานและกำลังหางานนั้น เราเองเข้าใจโจทย์ขององค์กรหรืไม่ และเราได้เตรียมตัวเตรียมศักยภาพของเราให้เป็นไปตามที่ตลาดแรงงานเค้าต้องการหรือไม่ การไม่เข้าใจโจทย์เหล่านี้สร้างผลกระทบอะไรแก่แรงงานในตลาดถ้าหากเราไม่ใส่ใจ ผลก็คือเราจะกลายเป็นเปอร์เซ็นต์อันน้อยนิดที่เหลืออยู่ที่ยังไม่สามารถหางานได้ เพราะองค์กรในปัจจุบันมีการจ่ายค่าแรงที่สูงและต้องการประสิทธิภาพหรือผลงานจากพนักงานที่สูงเช่นกัน
  • ศักยภาพในการนำพาทีม
    • การที่องค์กรให้ความสำคัญกับการนำพาทีมของผู้นำ ทำให้ขีดความสามารถหนึ่งจึงเกิดขึ้น นั่นก็คือ ทักษะการสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทำงาน ความเป็นคนที่เรียนเก่งอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์ในโลกธุรกิจปัจจุบัน การที่เราสามารถมีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ รักษาความสัมพันธ์ การปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคม จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
    • ศักยภาพในการนำพาทีม จะเกิดขึ้นได้นั้น ตัวเราต้องมีศักยภาพในการนำพาตนเองให้ได้ก่อน นี่คือหลักการที่เป็นพื้นฐาน และเราก็ต้องกลับมาทบทวนตัวเองว่า เมื่อสถานการณ์ในชีวิตเกิดวิกฤต หรือ เกิดเหตุการณ์ที่เราต้องมีการับมือทั้งภาวะด้านการกดดันต่าง ๆ นั้น เรามีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ หรือ มีความสามารถในการบริหารสถานการณ์นั้น ๆ อย่างไร
    • ประเด็นชวนคิดสำหรับการควบคุมอารมณ์ IQ, EQ, AQ, MQ, SQ กับสังคมเศรษฐกิจปัจจุบัน
      • IQ = INTELLIGENCE QUOTIENT คือความฉลาดทางสติปัญญา วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90-110
      • EQ = EMOTIONAL QUOTIENT คือความฉลาดทางอารมณ์
      • AQ = adversity Quotient คือความสามารถในการแก้ปัญหาและการเผชิญกับวิกฤติ
      • MQ = MORAL QUOTIENT - จริยธรรม คุณธรรม
      • SQ = SOCIAL QUOTIENT - ทักษะทางสังคม การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น
  • พนักงานเป็นหนึ่งเดียวกับธุรกิจ
    • คำว่าหนึ่งเดียวกับธุรกิจ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ สิ่งที่องค์กรต้องการคือ ให้พนักงานเป็นหนึ่งเดียวกับธุรกิจ ให้พนักงานรู้สึกเป็นเจ้าของแบรนด์ เป็นเจ้าของธุรกิจ เหมือนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่สร้างด้วยความสามารถของตัวพนักงาน
    • ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นหนึ่งเดียวกับธุรกิจคือ Business Acumen ความรอบรู้ในธุรกิจ ใช่เพียงแต่ว่าบริษัทเราขายอะไร เราต้องรู้ถึงขนาดคู่แข่ง ตลาดของสินค้าที่เราผลิต ทิศทางขององค์กร และต้องเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีกับแบรนด์หรือตราสินค้านั้น เพราะองค์กรคิดเสมอว่า พฤติกรรมของพนักงานคือ ภาพสะท้อนความเป็นแบรนด์ของธุรกิจนั้น ๆ นั่นเอง
    • ประเด็นคือ เราจะพัฒนาตนเองอย่างไรให้เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจธุรกิจถึงขนาดเป็นหนึ่งเดียวกับธุรกิจได้ การเตรียมพร้อมในการที่จะก้าวไปเป็น Professional หรือ พนักงานแบบมืออาชีพ จะต้องมีรากฐานของการที่เราจะต้องมี DIKW หรือ Data – Information – Knowledge – Wisdom เหล่านี้คือเบื้องต้นที่เราต้องทำความเข้าใจและฝึกปฏิบัติเพื่อให้ไปถึงระดับ Wisdom หรือ ปัญญา ที่สามารถเข้าใจและสร้างวิธีการใหม่ของเราให้เป็น Legacy หรือ มรดกตกทอดให้กับคนรุ่นถัดไปนั่นเอง

 

จะเห็นได้ว่าจากตัวอย่างข้างต้นที่มุมมองขององค์กรที่ต้องการจากตลาดแรงงาน และเราผู้ซึ่งเป็นหนึ่งของผู้ที่อยู่ในตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันถึงแม้จะดูไม่สูงในเชิงสถิติของตัวเลข แต่ในทางปฏิบัติกลับตรงกันข้าม และความผันผวนทางด้านธรุกิจและเศรษฐกิจบนโลกใบนี้ ยิ่งทำให้เราต้องมีการเตรียมและเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายที่เราต้องการ คือการได้รับโอกาสในการสร้างผลงานผ่านองค์กรหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่เข้ามาทำธุรกิจในบ้านเรา หรือ ต้องไปทำงานต่างประเทศก็ดี ดั่งคำคมที่กล่าวว่า “ไม่ฝึกก็ไม่มีวันได้ ไม่ขวนขวายก็ไม่สำเร็จ”

  •  
     

ทักษะ - คำแนะนำอื่นๆ