truoc-khi-ban-chuyen-viec

มี 2 คำถามที่คุณจะต้องตอบให้ได้ก่อนที่จะ เปลี่ยนงาน นั่นก็คือ จุดประสงค์ของการเปลี่ยนงานคืออะไร? คุณต้องการทำอะไร? เพราะว่า หากคุณไม่เข้าใจในเหตุผลที่เปลี่ยนงาน เมื่อคุณได้งานใหม่ทึ่คุณคิดว่ามีแต่ข้อดี แต่ไม่ว่างานนั้นจะดีอย่างไร หลังจากผ่านไประยะนึง คุณก็จะรู้สึกสัยสนอีกครั้งและคิดว่างานนี้มันใช่สำหรับคุณรึไม่

อันดับแรก มาพิจารณาเกี่ยวกับข้อมูลด้านล่างอีกครั้ง:
- ทำไมคุณถึงอยากเปลี่ยนงาน อะไรคือความแตกต่างระหว่างงานปัจจุบันกับปณิธานของคุณ?
- เมื่อคุณคิดที่จะเปลี่ยนงาน คุณคิดว่ามันคุ้มค่าไหม และอะไรคือเป้าหมายของคุณ?
- บางครั้งอาจจะเป็นที่ที่ทำงานปัจจุบันของคุณ ไม่เกี่ยวกับว่าคุณไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ?

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หากคุณยังคงต้องการมี่จะเปลี่ยนงานอยู่ ก็เริ่มทำมันเลย เวลาที่ตัดสินใจจะเปลี่ยนงานก็จะแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากเรียนจบ หลังจากทำงานไปประมาณ 2-3 ปี ก่อนคุณอายุ 30 ปี หลังจากแต่งงาน หรือเมื่อมีบางสิ่งในงานที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ในแต่ละสถานการณ์ คุณหาเหตุผลในการเปลี่ยนงาน อย่างไรก็ตาม ลองคิดให้มากกว่า 1 ครั้งก่อนที่จะตัดสินใจ

ถ้าหากคุณไม่ซีเรียสที่จะคิดเกี่ยวกับคำถามต่างๆ เช่น "ทำไมคุณถึงต้องการที่จะเปลี่ยนงาน?" "งานแบบไหนที่คุณต้องการ?" เป็นต้น คุณจะเปลี่ยนงานได้ยากมากขึ้นและยากที่จะประสบความสำเร็จ

ใครก็ตามที่เปลี่ยนงาน โดยมีจุดเริ่มต้นจากความไม่พอใจจากปัญหาบางประการ เช่น คุณไม่พอใจในระดับเงินเดือน สภาพแวดล้อมการทำงานหรือสถานที่ทำงานปัจจุบัน คุณไม่สามารถเข้าถึงความมุ่งมั่นได้จึงทำให้คุณตัดสินใจเปลี่ยนงาน และถ้าหากคุณยังเห็นบางจุดที่นำไปสู่ความไม่พอใจเหล่านี้ เมื่อคุณไปสัมภาษณ์งาน คุณอาจจะตกอยู่ในสถานการณ์เดิมๆเช่นเดียวกับบริษัทเก่าของคุณก็ได้

คุณเปลี่ยนทัศนคติที่ต้องการที่จะเปลี่ยนงานเพื่อความปราถนาในการทำสิ่งที่ดีขึ้นเพื่อตัวเอง แน่นอนว่า เหตุผลที่จะมาเป็นความผิดหวังในงานปัจจุบันจะแตกต่างอย่างมากจากการที่จะต้องการไปให้ถึงเป้าหมายหรือสิ่งอื่นๆที่คุณต้องการประสบความสำเร็จ

ลองจินตนาการว่าคุณจะเป็นอย่างไร หากคุณยังคงทำงานเดิมสัก 1 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี ลองสังเกตที่หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆที่เข้ามาทำงานก่อนคุณ แน่นอนว่า มันไม่ยากที่คุณจะจินตนาการภาพในอนาคตได้ หลังจากนั้นคุณจะคิดได้ว่าความปราถนาหรือภาพที่จินตนาการนั้นต้องมาก่อนความสำเร็จใช่หรือไม่? แล้วคุณจะทำมันให้เป็นจริงได้ในเวื่อนไขของมี่ทำงานในปัจจุบันหรือไม่

จากข้างต้น เมื่อคุณมองสถานการณ์ปัจจุบันที่มีพื้นฐานมาจากจินตนาการที่คุณอยากให้เป็นในอนาคต คุณจะพบสิ่งใหม่ๆในที่ทำงานปัจจุบันของคุณ เช่น "คุณสามารถที่จะทำบางอย่างได้ในที่ทำงานปัจจุบัน" หรือ "ลองเปลี่ยนแผนกที่ทำงาน" ในทางอื่น คุณสามารถที่จะตัดสินใจอย่างเด็ดขาดที่จะเปลี่ยนงาน ถ้าหากคุณพบว่าที่ทำงานปัจจุบันไม่สามารถทำให้คุณได้พบกับวามปราถนาที่แท้จริงของคุณ

เพื่อที่จะเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนงานใหม่ เนื้อหาที่คุณจะต้องเรียงลำดับหลักๆ มีดังนี้ จุดประสงค์ เหตุผลที่เปลี่ยนงาน ข้อดีของคุณ ข้อด้อยของคุณ สิ่งที่คุณต้องการในอนาคต เป็นต้น ตัวอย่างเช่น การมีจุดประสงค์ในการเปลี่ยนงานจะสามารถเป็นประโยชน์ต่อข้อมูลในการสมัครงานได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่คุณต้องการหรือให้ความสนใจในขณะที่กำลังหางาน จากข้างต้น หากคุณตัดสินใจสมัครงานใหม่ การเตรียมตัวเหล่านี้จะกลายเป็นประโยชน์เมื่อนึกถึงเกี่ยวกับ "แรงผลักดันที่ทำให้คุณต้องการเปลี่ยนงาน" หรือ "เหตุผลที่คุณเลือกบริษัทนั้น" มากกว่านั้น ถ้าบริษัทนั้นรับคุณเข้าทำงาน เนื้อหาข้างต้นที่คุณได้คิดและเตรียมไว้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่า "ถ้าไปทำงานที่บริษัทใหม่จะสามารถทำให้คุณทำเหตุผลที่ต้องการเปลี่ยนงานได้สำเร็จหรือไม่?"

ในระหว่างกระบวนการเปลี่ยนงาน จะมีโอกาสมากมายที่คุณต้องตัดสินใจและนำเสนอตัวเองอย่างเหมาะสม และไม่เพียงแต่จะต้องรับมือกับสถานการณ์แบบนี้เพียงชั่วคราว แต่คุณยังต้องเตรียมตัวอย่างระมัดระวัง รักษาตัวเองให้มั่นคง แล้วคุณก็จะสามารถเปลี่ยนงานได้อย่างประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้าม หากคุณไม่ได้เตรียมตัวเป็นอย่างรอบตอบแล้วนั้น ความคิดยังคงคลุมเครือ ไม่แน่นอน เมื่อคุณเริ่มกระบวนการการหางาน มันก็จะง่ายมากที่จะส่งผลให้บางเหตุการณ์ที่คุณไม่คิดว่ากระบวนการการหางานจะเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงความล้มเหลวเพื่อที่จะได้รับการว่าจ้างทำงาน มากกว่านั้น ยังจะสามารถทำให้คุณพูดได้ว่า "ฉันเปลี่ยนงานอย่างประสบความสำเร็จ" หรือ "ฉันมีงานที่ดีกว่าที่บริษัทนี้" การเตรียมตัวอย่างรอบคอบมากขึ้นจะช่วยให้คุณเปลี่ยนงานได้โดยไม่รู้สึกเสียใจกับอะไรเลย ดังนั้น พิจารณาว่าอะไรคือจุดประสงค์ในการเปลี่ยนงาน และจนกระทั่งค้นพบอย่างแท้จริงแล้วว่าต้องการที่จะเปลี่ยนงาน คุณถึงจะเริ่มกระบวนการหางานใหม่ หลักการนี้นำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกประเภทงานทั้งงานเอกชน และงานราชาการ อาทิ ถ้าคุณกำลังหางานครู อยู่ก็สามารถนำไปใช้ได้

  •