ช่วงนี้หลายท่านกำลังหางานอยู่ใช่ไหมค่ะ จงมั่นใจใจศักยภาพของตนเองและวางแผนการหางาน เพื่อให้ได้งานกันเลยค่า วันนี้เรามีเคล็ดลับดี ๆ ในการช่วยท่านหางานโดยเข้าถึงแหล่งของการหางานอย่างมืออาชีพ พร้อมทั้งแนวทางเล็ก ๆ น้อย เพื่อให้ท่านนำไปปรับใช้ในการหางาน สุดท้ายเพื่อให้ได้งานตามที่ตัวเองต้องการนะคะ^^
เรามีเคล็ดลับง่าย ๆ ขอเรียกว่า “หลัก 5M1E” ละกันนะคะ อยากรู้ละสิแปลว่าอะไร และทำไมต้องใช้หลักแนวคิดนี้เพื่อนำพวกเราท่านทั้งหลายไปสู่จุดมุ่งหมายการหางานกัน
“หลัก 5M1E” คืออะไร?
หลักการที่นำมาจากหลักการแก้ไขปัญหาในการทำงาน โดยมองถึงสาเหตุหลักต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญซึ่งมาเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห็หาสาเหตุของปัญหา โดยที่ปัจจัยสำคัญดังกล่าวคือ
- M = Man คน ซึ่งคนในที่นี่หมายถึง ตัวเราผู้กำลังหางาน, คนสัมภาษณ์เรา
- M = Material วัตถุดิบ ซึ่งในที่นี่จะหมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- M = Method วิธีการ ซึ่งในที่นี่จะหมายถึง เราใช้วิธีการไหนในการหางานบ้างละ
- M = Machine เครื่องจักร ซึ่งในที่นี่จะหมายถึง Resume หรือ CV ของเรา บวก แฟ้มประวัติผลงานของเรา
- M = Measurement การวัดผล ซึ่งในที่นี่จะหมายถึง ในแต่ละปัจจัยคือตั้งแต่ M1-M4 เป้าหมายคืออะไร เราต้องตั้งเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคนอื่น หรือ ตลาด เพื่อที่เราะถึงจะได้งาน
- E = Environment สภาพแวดล้อม ซึ่งในที่นี่จะหมายถึง โลเคชั่นของบริษัทที่เราต้องการร่วมงาน สภาพเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบันเอื้อต่อการหางานหรือไม่ อัตราการว่างงานที่เกิดขึ้นจริง การเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ส่งผลให้เราหางานได้ยากหรือง่าย เช่นกัน
เมือเรารู้ความหมายของหลักในการหางานแล้ว ดังนั้นวันนี้เราจะมาตั้งโจทย์ปัญหาง่าย ๆ กันว่า “ทำไมเราถึงจะหางานให้ได้งานที่เราต้องการได้” น่าสนุกแล้วใช่ไหมค่ะ (แอบนอกประเด็นนิดหนึ่งสำหรับผู้ทำงานทุกท่าน หลัก 5M1E นี้ เป็นแนวคิดพื้นฐานในการทำงานเพื่อวิเคราะห็หาสาเหตุของปัญหาเวลาที่เราทำงานแล้วเจอจริงๆ และนี่ก็เป็นอีกทักษะหนึ่งที่คนทำงานต้องศึกษาและหมั่นฝึกฝนด้วยนะคะ)
ขอย้ำหัวข้อปัญหาที่เราต้องจัดการ คือ “ทำไมเราถึงจะหางานให้ได้งานที่เราต้องการได้” มาดูวิธีกันค่ะ
- M = Man คน ซึ่งคนในที่นี่หมายถึง ตัวเราผู้กำลังหางาน, คนสัมภาษณ์เรา
วิเคราะห์จาก “ตัวเรา”- ความพร้อมกี่เปอร์เซ็นต์
- ความสามารถ ศักยภาพ ความรู้ ทักษะ กี่เปอร์เซ็นต์
- ความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง กี่เปอร์เซ็นต์
- ความแตกต่างจากคนอื่น กี่เปอร์เซ็นต์
- ความมีทัศนคติไปในทางบวก กี่เปอร์เซ็นต์
- จุดแข็ง จุดอ่อน ของเราคืออะไร
- พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง กี่เปอร์เซ็นต์
- ความต้องการในชีวิตของเราคืออะไร
- ได้งานใหม่แล้ว จะทำงานอยู่กับเค้าอีกกี่ปี
- ข้อนี้สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน แล้วถ้าไปเจอสถานการณ์ที่เราเคยเจอแล้วลาออกจากที่เก่ามา เราจะยังลาออกอีกไหม
- เค้าต้องการคนที่ไปร่วมงานที่มีคุณสมบัติอย่างไร (ถ้าเรามีคุณสมบัติบางข้อไม่ตรง เราต้องวางแผนว่าจะขายจุดอื่นที่เป็นจุดเด่นของเราแทน)
- เค้าต้องการทักษะอะไรที่เน้นเป็นพิเศษไหม (หลักพื้นฐาน คือ เค้าคาดว่าเราต้องรู้ความเป็นมาของบริษัทที่เราจะไปสัมภาษณ์ รู้ผลิตภัณฑ์ บ้างนะคะ)
- คนสัมภาษณ์ผู้หญิง/ผู้ชาย/เพศที่สาม (อาจจะขอชื่อนามสกุลเพื่อ search ใน Google) ก็เป็นการเตรียมตัวที่ดีเช่นกัน
- สัมภาษณ์กี่คน กี่รอบ ถึงจะตัดสิน
- M = Material วัตถุดิบ ซึ่งในที่นี่จะหมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- ความรู้ ความสามารถ ศักยภาพของเราที่มี สามารถทำงานและรับผิดชอบงานตามที่เค้าเขียนใบประกาศรับสมัครงานหรือไม่
- ถ้าไม่ตรงร้อยเปอร์เซ็นต์เราจะต้องสร้างจุดแข็งเพื่อนำเสนอผู้สัมภาษณ์อย่างไร เพื่อให้เค้าเห็นว่าเราพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ และใช้เวลาไม่นาน เป็นไปได้ไหมบอกเลยว่าเรา “ปรับตัวเก่ง เข้ากับคนง่าย” เป็นต้น
- บุคลิกภาพ เราเป็นคนแบบไหน อันนี้ก็สำคัญนะคะ เพราะโอกาสที่เราจะเข้าไปบริษัทเค้าเพื่อสัมภาษณ์อาจจะเป็นครั้งเดียวของชีวิตที่เปลี่ยนเราไปเลยก็ได้ ดังนั้นต้องพร้อมนะคะ
- M = Method วิธีการ ซึ่งในที่นี่จะหมายถึง เราใช้วิธีการไหนในการหางานบ้างละ
- อินเตอร์เน็ต เว็บไซด์หางาน โซเชียลมีเดีย เพจหางาน เพจมหาลัย เพจศิษย์เก่า Linkedin (อันนี้ฮิตมากนะคะ และจากวิจัยพบว่าช่องทาง Linkedin เป็นช่องทางทำให้หางานได้ง่ายและเร็วสุด)
- เพื่อน/คนรู้จัก/อาจารย์/หัวหน้าเก่า แต่เพื่อนมักชอบบอกว่าบริษัทที่เค้าทำงานอยู่ไม่ค่อยดี บางทีอย่าไปเชื่อมากนะคะ เพราะคำว่าไม่ค่อยดีของเพื่อนนั้นอาจจะเกิดจากการกระทำของเค้าเอง แต่ให้สังเกตุว่าเพื่อนเราก็ไม่เคยเปลี่ยนงานนะคะ
- Headhunter ต้องทำความรู้จักและส่งรีซุเม่ของเราทิ้งไว้ได้เลยค่ะ
- บอร์ดในมหาลัย/นิคมอุตสาหกรรม/สมาคม/ชมรม ต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางค่ะ
- M = Machine เครื่องจักร ซึ่งในที่นี่จะหมายถึง Resume หรือ CV ของเรา บวก แฟ้มประวัติผลงานของเรา
- เขียนประวัติที่อ่านแล้วคนอ่านไม่ทิ้งลงถังขยะนะคะ การสะกดคำต้องทำให้ถูก ไม่งั้นเค้าจะมองว่าไม่มีการตรวจทาน ทำงานไม่ละเอียดรอบคอบ, รูปที่ใส่ควรสุภาพ
- กรณีเป็นนักศึกษาจบใหม่ เน้นเกรด เน้นกิจกรรม เน้นวิชาการ เน้นโปรเจคที่จบ เป็นต้น
- กรณีเป็นพนักงานผู้มีประสบการณ์ ให้เน้นความสำเร็จของงานที่เราได้ทำที่ผ่านมา เช่น Set up Competency Mapping, Leader of Project Six sig-ma หรือจะบอกว่าเคยมีไอเดียปรับปรุงอะไร มีผลอย่างไร ลดเงินบริษัทไปได้เท่าไหร่ รับรองน่าสนใจสุด ๆ
- M = Measurement การวัดผล ซึ่งในที่นี่จะหมายถึง ในแต่ละปัจจัยคือตั้งแต่ M1-M4 เป้าหมายคืออะไร เราต้องตั้งเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคนอื่น หรือ ตลาด เพื่อที่เราะถึงจะได้งาน
- เราควรสร้างตัววัดผลของตัวเองขึ้นมา เช่น
- ความรู้ ความสามารถ ศักยภาพของเรา เทียบกับตำแหน่งที่เราอยากสมัคร มีช่องว่างไหม ถ้ามากเกิน 20% เรายังไม่ควรไปสมัคร เราควรหาเพิ่มเติมให้ถึงสัก 80% ก่อนแล้วค่อยสมัครตำแหน่งนั้น ๆ ไม่งั้นพอเราเข้าไปทำงานเราจะทำงานไม่ได้ตามที่เค้าคาดหวัง รับรองเราเจ๊งแน่นอนค่า
- เราจะส่งรีซูเม่ทั้งหมดกี่บริษัท, แนะนำให้หว่านเลยนะคะ การสมัครงานไม่มีใคสมัครงานบริษัทเดียวแล้วได้แน่นอนถ้าเราไม่ใช่เทพ หรือ คนที่มีความเชี่ยวชาญลักษณะเฉพาะที่บริษัทอยากได้
- กำหนดตัวที่บริษัทอยากได้จากเราหรือตำแหน่งที่หาให้ได้ เพื่อเราจะทำความเข้าใจและเตรียมตัวเราให้พร้อมก่อนลงสู่สนามจริง
- E = Environment สภาพแวดล้อม ซึ่งในที่นี่จะหมายถึง โลเคชั่นของบริษัทที่เราต้องการร่วมงาน สภาพเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบันเอื้อต่อการหางานหรือไม่ อัตราการว่างงานที่เกิดขึ้นจริง การเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ส่งผลให้เราหางานได้ยากหรือง่าย เช่นกัน
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงแนวทางหนึ่งหรือเคล็ดลับหนึ่งเท่านั้น การหางานเพื่อให้ได้งานยังไม่อีกหลากหลายเคล็ดลับที่จะช่วยทุกท่านที่กำลังหางาน มองงานใหม่ หรือ คนตกงานเพื่อให้ได้งาน สู้ ๆ ค่า