ประเทศไทย 4.0

“งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลชีวิต” ไม่แน่ใจว่าคำนี้ใครเป็นคนเขียน แต่เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า มันคือความจริงของชีวิตเราทุกคนที่ว่า เราทุกคนยังคงต้องทำงานหาเงินเพื่อมาสนับสนุนปัจจัยสี่ของเราให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อนผู้อื่น รวมทั้งเงินก็คือการที่เราจะต้องทำงาน เพื่อพัฒนาชีวิตของเราให้เจริญก้าวหน้าผ่านการทำงาน จนบันดาลชีวิตให้เราสามารถที่อยู่รอดปลอดภัยได้จนถึงวัยที่ต้องลาลับโลกใบนี้ไป น่าคิดนะคะ “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลชีวิต”

 

ขอบคุณรูปภาพจาก: http://www.aseanthai.net/

 

แต่การหางานในยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นยุคที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากปัจจุบันที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก ไปสู่ “Value-Base Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ก็ทำให้เราต้องหันมาทบทวนเส้นทางอาชีพหรือเส้นทางการวางแผนทางการเรียนของเราว่าเหมาะสมกับยุคนี้ และยุคที่กำลังจะเข้ามาในอนาคตนี้หรือเปล่า เราได้มีการเตรียมตัวเอง สร้างองค์ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ หรือ ทักษะอะไรบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่กำลังจะเข้ามา โลกเปลี่ยนแต่เราไม่เปลี่ยน ก็อาจจะสร้างปัญหาให้เราในการปรับตัวไปสู่อนาคตได้เหมือนกัน สิ่งที่เราต้องทำคือการประเมินสถานการณ์ว่ายุคประเทศไทย 4.0 นี้ เค้าต้องการคนที่มีทักษะแบบไหน และในตอนนี้เรามีทักษะนั้นบ้างอยู่หรือเปล่า ถ้าเราไม่มีแล้วเราสามารถอยู่รอดในสังคมการงานของเราปัจจุบัน หรือมีเงินทุนที่เพียงพอที่ได้วางแผนไว้แล้วหลังจากเกษียณก็ไม่น่ากังวลใจ แต่ถ้าไม่ใช่ และถ้ามันเกิดอะไรไรขึ้นมาที่ทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลง เราจะยังสามารถไปต่อได้หรือเปล่า ฝากให้ชวนคิดนะคะ

 

ก่อนจะเข้าสู่ทักษะเด็ดที่เราต้องเตรียมตัว ขออ้างอิงถึงบทความ(http://www.admissionpremium.com/news/1377) ที่กล่าวถึงประเทศไทย 4.0 โดยสรุปอย่างย่นย่อว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะเปลี่ยนตั้งแต่โมโดล แบบเดิมที่ “ทำมาก ได้น้อย” เป็น “ทำน้อย ได้มาก” แทน มี 3 มิติ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยหลักการคือ

 

  1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”

  2. เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

  3. เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

 

ดังนั้น “ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ

  1. เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

  2. เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง

  3. เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services

  4. เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

 

ซึ่งจะมี “5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย” ประกอบด้วย

  1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-Tech)

  2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness & Bio-Med)

  3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics)

  4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, IoT, Artificial Intelligence & Embedded Technology)

  5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services)

 

เมื่อเราพอเข้าใจภาพของ “ประเทศไทย 4.0” แล้วว่าทิศทางจะเป็นอย่างไร อนาคตแนวโน้มตลาดแรงงานบ้านเราจะเป็นอย่างไร สิ่งที่สำคัญที่สุดเหมือนที่กล่าวไว้ข้างคือ การเตรียมตัวของเรา (Preparing Yourself) เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วย 5 ทักษะที่สำคัญดังนี้ค่ะ

 

  1. ทักษะการออกแบบและธุรกิจดิจิตอล (Digital Design & Business Skills)
    ในยุคนี้และยุคถัดไป เราจะใช้ชีวิตโดยปราศจากเทคโนโลยีนั้นยากมาก เพราะมันจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโดยที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว หากเราเข้าใจในโลกเทคโนโลยีเราก็จะเข้าใจในโลกดิจิตอล แต่แค่เข้าใจนั้นไม่สามารถตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคตได้ ถ้าเราสามารถออกแบบและสร้างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลได้ต่างหากคือทักษะที่สำคัญ

  2. ทักษะคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดวิเคราะห์ (Creative & Critical Thinking Skills)
    หลังจากนี้อุตสาหกรรมจะเปลี่ยนจากแข่งขันทางด้านภาคอุตตสหกรรมเป็นการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์อย่างมีนัยยะ รวมถึงมีวิธีการคิดอย่างพินิจพิเคราะห์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงาน สินค้าและบริการได้อย่างแตกต่างเหนือความคาดหมาย จะทำให้เราเป็นผู้ที่มีทักษะที่มีความต้องการในตลาดสูงด้วยเช่นกัน

  3. ทักษะการวิเคราะห็ข้อมูล และข่าวสาร (Database & Information Analytical Skills)
    ในโลกของข้อมูลมหาศาล (Big-Data) และ ข่าวสารที่มากมาย (Huge Information) ทำให้ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับอนาคต เพราะข้อมูลและข่าวสารที่ปรากฎนั้น เราจำเป็นต้องมีทักษะในการแยกแยะว่าอันไหนเท็จอันไหนจริง อันไหนมีประโยชน์นำมาใช้ต่อยอดได้อันไหนควรมองข้าม เป็นต้

  4. ทักษะความสามารถที่หลากหลาย (Multi-skills)
    หากเรายังเป็นแรงงานที่แรงกายหรือแรงงสมองอยู่ก็ตาม สิ่งสำคัญที่เราจะต้องเพิ่มในตัวเราคือ ทัษะการทำงานที่หลากหลาย สามารถทำงานได้หลายอย่าง ๆ (แต่ไม่ใช่ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันนะคะ)

  5. ทักษะการสร้างความสัมพันธ์และสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal & Communication Skills)
    เนื่องจากทุกวันนี้และต่อ ๆ ไป เราทุกคนต่างมีปฏิสัมพัทธ์กันในโลกไซเบอร์ซะส่วนใหญ่ จึงทำให้ทักษะในการพูดคุยสื่อสารกันในระดับบุคคลหรือชุมชนลดต่ำลงไป ดังนั้นถ้าใครมีหรือสร้างทักษะนี้ได้รับรองชิวเลยค่ะ

  •